ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม


อาจารย์ใบชา วงศ์ตุ้ย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เลขทะเบียน :

1760-66-HUSO-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ในแปลงตัวอย่าง จัดทำฐานข้อมูลสิ่งปกคลุมดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน และประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพืชด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า การสำรวจแปลงตัวอย่าง 3 แปลง พบพรรณไม้ยืนต้น 764 ต้น จำนวน 8 ชนิดพรรณ โดยเต็งและรังเป็นพืชเด่น คิดเป็นร้อยละ 58.79 และ 32.41 ตามลำดับ การกักเก็บคาร์บอนในแต่ละแปลงอยู่ระหว่าง 5.077 ถึง 6.069 ตันคาร์บอนต่อไร่ การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบันด้วยวิธีการจำแนกแบบกำกับสามารถจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ 6 ประเภท โดยพื้นที่ป่าไม้มีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่ทั้งหมด การประเมินการกักเก็บคาร์บอนด้วยดัชนี NDVI จากภาพดาวเทียม Sentinel-2 พบว่าพื้นที่ป่าไม้มีค่าเฉลี่ยมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน 148.08 ตันต่อไร่ คิดเป็นปริมาณการกักเก็บคาร์บอนทั้งหมด 321,860.365 ตันคาร์บอน หรือ 1,180,154.672 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดการพื้นที่ป่าไม้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป

Abstract

The objectives of this research were to study and evaluate the carbon sequestration of trees in sample plots, create a database of land cover and land use, and assess plant carbon sequestration using geoinformatics technology. A survey of three sample plots revealed 764 trees from eight species, with Shorea obtusa Wall. and Shorea siamensis Miq. being the dominant species, accounting for 58.79% and 32.41%, respectively. Carbon sequestration in each plot ranged from 5.077 to 6.069 tons of carbon per rai. The current land use classification, using supervised classification methods, identified six types of land use, with forest areas making up the highest proportion at 82% of the total area. The carbon sequestration assessment, using the NDVI index from Sentinel-2 satellite imagery, found that the forest area had an average above-ground biomass of 148.08 tons per rai, equivalent to a total carbon sequestration of 321,860.365 tons of carbon or 1,180,154.672 tons of carbon dioxide. The findings of this research can be used as baseline data for forest area management planning and natural resource conservation in the future.

ไฟล์งานวิจัย

final report-Baicha.pdf

11 04 เม.ย. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่