
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การจัดการบริการด้านเทคโนโลยีในการบริการและความพึงพอใจในการให้บริการยืม-คืน อุปกรณ์ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
นางสาวณฐรักษ์ พรมราช
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1767-66-MGT-CMRU
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การจัดการบริการด้านเทคโนโลยีในการบริการและความพึงพอใจในการให้บริการยืม – คืน อุปกรณ์ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ภาควิชา
นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพของเครื่องมือ อุปกรณ์ และการจัดการบริการด้านเทคโนโลยีในการบริการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการบริการด้านเทคโนโลยีในการบริการกับความพึงพอใจในการให้บริการยืม - คืน อุปกรณ์ทางการศึกษา และ 3) เพื่อแสวงหาแนวทางการจัดการบริการให้ยืม - คืน อุปกรณ์ทางการศึกษา เป็นวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีการเก็บข้อมูลผ่านแบบสำรวจ แบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ให้บริการในภาควิชานิเทศศาสตร์ ได้แก่ กล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริม ซึ่งส่วนมากมีการใช้งานมาเป็นเวลานาน บางส่วนเกิดความเสียหายจนใช้งานไม่สมบูรณ์ ขณะที่กล้องบันทึกวิดีโอและอุปกรณ์เสริมยังคงใช้งานได้ดี แต่บางส่วนล้าสมัย ส่วนอุปกรณ์สตูดิโอและอุปกรณ์อื่น ๆ ส่วนมากยังใช้งานได้ดี แม้ว่าจะมีความเสียหายจากการใช้งานที่ยาวนานและบ่อยครั้ง โดยเฉลี่ยอุปกรณ์มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 - 16 ปี
นอกจากนี้ ยังพบว่า การจัดการบริการที่มีประสิทธิภาพมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการบริการ เช่น การกำกับดูแล การจัดการความเสี่ยง และการบริการที่เหมาะสม ล้วนมีค่า Sig. ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการได้
แนวทางการพัฒนาบริการที่กลุ่มตัวอย่างเสนอแนะ ได้แก่ การเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษา โดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ใหม่เพื่อทดแทนอุปกรณ์ที่ล้าสมัย นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการอัปเกรดระบบการจัดการอุปกรณ์ให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น การแสดงข้อมูลอุปกรณ์แบบเรียลไทม์ผ่านระบบยืม – คืน ออนไลน์ และพัฒนาระบบการจองอุปกรณ์ให้สะดวกรวดเร็ว โดยสรุป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุง
การจัดการบริการด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและตอบสนองต่อความต้องการการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในด้านการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์และอัปเดตคุณภาพให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
Abstract
This study examines the management of technology services and user satisfaction with educational equipment lending and return services in the Department of Communication Arts, Chiang Mai Rajabhat University. The research objectives were to 1) assess the current state of tools, equipment, and technology service management; 2) analyze the relationship between technology service management and user satisfaction with lending and return services; and 3) propose guidelines for enhancing the management of these services. A mixed-methods approach was employed, incorporating quantitative survey research and qualitative interviews. Data were collected through questionnaires and interviews with selected participants.
The findings revealed that most of the department's equipment, particularly cameras and related accessories, has been used for an extended period. While some equipment has deteriorated and is no longer fully functional, most video recording cameras and their accessories remain operational, though outdated. Studio equipment and other related tools are generally in good working condition despite wear and tear from frequent use. On average, the equipment has been in service for 10–16 years.
The study further found that effective service management significantly impacts user satisfaction. An analysis of the relationship between service management factors—supervision, risk management, and service provision—demonstrated statistically significant results, with p-values less than 0.01, indicating these factors as strong predictors of user satisfaction with lending and return services.
Recommendations for service improvement included increasing the availability of equipment to meet demand, particularly during peak usage periods. It was also suggested that outdated equipment be replaced. The equipment management system was modernized by implementing real-time status updates through an online lending-return platform and enhancing the reservation system for greater convenience and efficiency.
In conclusion, the research highlights the critical need for improvements in technology service management to keep pace with technological advancements and better meet students' learning needs. The Department of Communication Arts, Chiang Mai Rajabhat University, is committed to these improvements, which include expanding the quantity of available equipment and updating its quality to ensure it is more current and reliable.
ไฟล์งานวิจัย
11 04 เม.ย. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555