
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนา
นายภวัต ณ สิงห์ทร
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
1781-66-CULT-CMRU
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนา และเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 238 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที ค่าสถิติทดสอบเอฟ และวิเคราะห์เนื้อหาจากคำถามปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านบุคลากร และด้านหลักสูตร ในขณะที่สภาพปัญหาและแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนา พบว่า ครูและผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนภาษาล้านนา สถานศึกษามีข้อจำกัดในด้านเวลาเรียน ขาดแคลนบุคลากรผู้สอน นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ขาดการเชื่อมโยงกับเครือข่ายวัฒนธรรมในท้องถิ่น ไม่มีงบประมาณสนับสนุน ภาษาล้านนาไม่จัดเป็นวิชาพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับสูงได้ ขาดสื่อการเรียนรู้ ซึ่งแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนาในสถานศึกษาควรกำหนดนโยบายในการจัดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนา โดยความร่วมมือของเครือข่ายและชุมชน จัดให้มีการนิเทศก์ติดตามผลร่วมกับหน่วยงานภายนอก รวมถึงการจัดตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดทำหลักสูตร หรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาล้านนาในสถานศึกษา
Abstract
This research aims to study the opinions of teachers and school administrators affiliated with the Secondary Educational Service Area Office in Chiang Mai Province regarding the preservation of Lanna language wisdom. The study involved a sample population of 238 individuals and utilized a questionnaire with a confidence level of 0.97. Statistical analysis, including frequency, mean, standard deviation, t-test, and content analysis of open-ended questions, was conducted. The research found that overall, the opinions of teachers and administrators regarding the preservation of Lanna language wisdom are generally positive. However, there are areas that need improvement, such as management and administration, learning materials, staffing, and curriculum. Challenges identified include time constraints, a shortage of staff, limitations related to student demographics and school locations, and a lack of cultural network connections. Lanna language is not considered a foundational subject and cannot be used for higher education. There is also a lack of learning materials. Recommendations include the development of policies for Lanna language preservation, involvement of parents, communities, and networks, continuous monitoring with external agencies, budget allocation for support, curriculum development, and promotional activities. Keywords: Opinions, Wisdom, Lanna Language.
ไฟล์งานวิจัย
เล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์_ ภวัต ณ สิงห์ทร_กองทุนวิจัย 66 (ส่งเผยแพร่).pdf
5 01 พ.ค. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555