ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

เทคโนโลยีความจริงเสมือนเพื่อการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันแนะนำสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


นายกุลชาติ ปัญญาดี

สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

เลขทะเบียน :

1782-66-DIGI-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง เทคโนโลยีความจริงเสมือนเพื่อการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันแนะนำสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีความจริงเสมือนเพื่อการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันแนะนำสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเสริม (CMRU Virtual Tour) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของระบบเทคโนโลยีความจริงเสมือนเพื่อการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันแนะนำสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (CMRU Virtual Tour)  สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบเว็บแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความจริงเสมือน เพื่อการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันแนะนำสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีความจริงเสมือนเพื่อการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเสริม (CMRU Virtual Tour) ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบโดยใช้หลักการทำงาน 4 ส่วนหลัก คือ 1)ระบบการแสดงผลข้อมูลของสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2)ส่วนของการเดินทาง 3)ส่วนแสดงผล Virtual Reality และ 4)ระบบจัดการและบริหารข้อมูล โดยหลักการทำงานจะบูรณาการร่วมกับฐานข้อมูลเว็บไซต์และการแสดงผล Virtual Reality ซึ่งหลักการแสดงผลของงานวิจัยนี้คือ เมื่อผู้ใช้ไปยังจุดที่ตั้งของตำแหน่ง เช่น สถานที่หรือทางแยกของถนน ระบบจะมีการนำเสนอข้อมูลให้ผู้ใช้งาน และเมื่อผู้ใช้งานกดเข้ามาในเมนูดังกล่าวแล้ว โปรแกรมจะเข้าสู่โหมด Virtual Reality เพื่อให้ผู้ใช้งานจำลองตัวเองเข้าไปในสถานที่ดังกล่าวได้เสมือนจริง สามารถทำการดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้ ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาและออกแบบเว็บแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าใช้งาน มีองค์ประกอบของเว็บแอปพลิเคชันอย่างครบถ้วน ซึ่งได้แก่ ความเรียบง่าย เข้าใจง่าย ความสม่ำเสมอ ไม่สับสน สร้างความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ เนื้อหาครบถ้วน ความสะดวกในการเข้าใช้งาน โดยแบ่งการใช้งานหน้าจอแสดงผล คือ เมนูถนนและเส้นทาง  เมนูสถานที่สำคัญ  เมนูอาคารและสำนักงาน  เมนูลานจอดรถ และเมนูแสดงรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ แผนที่และที่ตั้งของมหาวิทยาลัย  อัลบั้มภาพ  วีดีทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และรายละเอียดของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  2) การประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบเว็บแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองเข้าใช้งาน จำนวน 400 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.35 โดยมีความพึงพอใจสูงที่สุดในด้านการใช้งาน มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.39 รองลงมา ด้านการใช้เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.35 และด้านการออกแบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.30 ตามลำดับ

Abstract

Virtual Reality Technology for the Development of a Web Application for Campus Navigation at Chiang Mai Rajabhat University 1) To develop a virtual reality (VR) system for creating a web application that guides users to various locations within Chiang Mai Rajabhat University, utilizing augmented technology (CMRU Virtual Tour) 2) To evaluate user satisfaction with the virtual reality technology system designed for the web application that provides campus navigation at Chiang Mai Rajabhat University (CMRU Virtual Tour). The data will be collected using a user satisfaction questionnaire for the VR-based web application developed for campus navigation at Chiang Mai Rajabhat University.

          The results of student to finding 1) Development of the Virtual Reality Technology System for the Web Application for Campus Navigation at Chiang Mai Rajabhat University The system was developed using four main components 1) Provides information about locations within Chiang Mai Rajabhat University 2) Assists users in traveling through the campus 3) Offers immersive VR experiences 4) Handles and manages information The system integrates with the website’s database and the Virtual Reality display. The research findings indicate that when users reach a specific location, such as a place or intersection, the system provides relevant information Upon selecting the menu, the application transitions to Virtual Reality mode, allowing users to virtually explore the location and view detailed information. The web application is designed for efficiency and to capture users' interest, featuring Simplicity and ease of understanding, Consistency and clarity, Distinctiveness and uniqueness, Comprehensive content , User-friendly interface  The application’s interface includes: Menu for Streets and Routes, Menu for Important Places, Menu for Buildings and Offices, Menu for Parking Areas, Menu for Information Details, such as maps and campus locations, photo albums, videos of Chiang Mai Rajabhat University, and information about university departments 2) Evaluation of User Satisfaction Based on a sample of 400 users who tested the system, the overall satisfaction level was high, with an average score of 4.35. The highest satisfaction was reported in the area of usability, with an average score of 4.39. The satisfaction with Virtual Reality (VR) technology was also high, with an average score of 4.35, followed by the design aspect, with an average score of 4.30

ไฟล์งานวิจัย

ฉบับสมบูรณ์.pdf

10 04 เม.ย. 2566

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่