
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ความสามารถในการเกิดออกซิเดชันของฝุ่น PM2.5 ในช่วงฤดูหมอกควันของจังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.ดวงเดือน เทพนวล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียน :
1808-67-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาวิธีในการหาค่าศักยภาพการออกซิเดชันของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วยวิธี Dithiothreitol (DTT) assay และตรวจวัดด้วยเครื่องไมโครเพลทรีดเดอร์ โดยอาศัยหลักการวัดอัตราการลดลงของปริมาณ DTT ที่ทำปฏิกิริยากับสารอนุมูลอิสระออกซิเจนในตัวอย่างฝุ่น โดยติดตามปริมาณ DTT ที่เหลือด้วยการทำปฏิกิริยากับสารรีเอเจนต์แล้วให้สารละลายสีเหลืองที่มีค่าการดูดกลืนแสงแปรผันตามความเข้มข้นของ DTT วิธีที่พัฒนาขึ้นมีข้อดีคือใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องในการทดสอบเฉพาะที่จำเป็น ประหยัดค่าใช้จ่ายจากสารเคมีที่มีราคาแพง ใช้สารรีเอเจนต์และสารละลายตัวอย่างปริมาณน้อยในระดับไมโครลิตร ลดขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ยุ่งยาก ทำให้ได้วิธีทดสอบที่ง่าย สะดวก ทำการตรวจวัดได้อย่างรวดเร็ว เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างฝุ่น PM2.5 ที่เก็บในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงวิกฤตหมอกควัน เดือนมีนาคม-เมษายน ของปี พ.ศ. 2565 จำนวน 12 ตัวอย่าง และ เดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2567 จำนวน 18 ตัวอย่าง มีค่า OPv มีค่าเป็น 0.304±0.133 และ 0.572 ± 0.296 นาโนโมลต่อนาทีต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับปี 2565 และ 2567 ตามลำดับ บ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสอากาศของมนุษย์ ค่า OPm มีค่าเป็น 5.05±1.65 และ 8.85 ± 2.44 พิโคโมลต่อนาทีต่อไมโครกรัม สำหรับปี 2565 และ 2567 ตามลำดับ บ่งชี้ถึงความเป็นพิษจากการเกิดออกซิเดชันของสารที่อยู่ในตัวอย่างฝุ่นที่ต่ำ
Abstract
The aim of this research is to develop a method for measuring the oxidative potential of PM2.5 by applying the Dithiothreitol (DTT) assay and measurement with a microplate reader. The method is based on measuring the consumption rate of DTT as it reacts with reactive oxygen species (ROS) in the PM2.5 samples. The remaining DTT is detected by reacting with a reagent that produces a yellow solution, its absorbance is proportional to DTT concentration. The developed method has several advantages: uses only the necessary chemicals, reduces costs associated with expensive chemicals, requires minimal reagent and sample volumes in the microliter range, and simple analysis process, making it easy, convenient, and quick to perform. The
develop method was applied to PM2.5 samples, which collected in Chiang Mai during smoke haze period in March-April 2022 (12 samples) and March 2024 (18 samples). The oxidative potential relative to air volume (OPv) was 0.304±0.133 and 0.572±0.296 nmol/min/m³ for 2022 and 2024, respectively, indicating a risk of human exposure to air pollutants. The oxidative potential relative to particle mass (OPm) was 5.05±1.65 and 8.85±2.44 pmol/min/µg for 2022 and 2024, respectively, indicating low oxidative toxicity of PM2.5 samples.
ไฟล์งานวิจัย
18 14 ม.ค. 2568

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555