ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษาระเบียบพิธีการทางศุลกากรของการค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้ ด้านงานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาของภาคเหนือตอนบน


อาจารย์ ดร.สายพิณ สังคีตศิลป์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

279-56-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาระเบียบพิธีการทางศุลกากรของการค้าชายแดนไทย–จีนตอนใต้ด้านงานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาของภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ เพื่อศึกษาวิธีการและรูปแบบด้านระเบียบพิธีการทางศุลกากรของการค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้ที่เกี่ยวข้องกับ งานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาของภาคเหนือตอนบน เพื่อศึกษาและรวบรวมกฎ ข้อบังคับ และ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบสนธิสัญญาระหว่างไทย – จีน ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบพิธีการทางศุลกากรบริเวณการค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้ และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและผลกระทบการค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้ที่เกิดขึ้นจากระเบียบพิธีการทางศุลกากร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ประกอบการที่ทาการค้ากับประเทศจีน การลงพื้นที่จริงของคณะผู้วิจัย และข้อมูลทุติยภูมิ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารในด้านการค้า การบริการ กฎ ระเบียบและข้อมูลทางสถิติ ตลอดจนนโยบายของรัฐในด้านการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ผลการศึกษาพบว่า การส่งออกคือการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่หนึ่งในประเทศไทยไปยัง สถานที่หนึ่งนอกประเทศไทย สินค้าทั้งหมดที่ส่งออกจากประเทศไทยต้องรายงานและผ่านพิธีการ ทางศุลกากร โดยมีเอกสารประกอบการดาเนินพิธีการส่งออก ได้แก่ ใบขนสินค้าขาออก บัญชีราคาสินค้า ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสาหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี) ใบรับรองแหล่งกาเนิดสินค้า (ถ้ามี) และเอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ตตาล็อค เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น ซึ่งปกติพิธีการทางศุลกากรเพื่อการส่งออกประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า การตรวจสอบพิสูจน์การสาแดงข้อมูลการชาระภาษีอากรและการตรวจและการปล่อยสินค้า ทั้งนี้เส้นทางการค้าที่สาคัญระหว่างไทยและยูนนานมีทั้งทางบก ทางน้า และทางอากาศ ตลอดจนกรมศุลกากรได้นาระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สายมาใช้ในการผ่าน พิธีการศุลกากรเป็นการปรับปรุงระบบให้บริการบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยมีจุดมุ่งหมายในการอานวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่ง ประกอบด้วยขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกด้วยระบบ E-Export ค่าธรรมเนียม การแก้ไขข้อมูล กรณีที่ต้องผ่านการอนุมัติ/อนุญาต หน่วยงานอื่น การรับรองใบขนสินค้าขาออก ข้อพึงระวังในการส่งข้อมูลใบกากับการขนย้ายสินค้า จากการรวบรวมข้อมูล และลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาข้อมูลกฎระเบียบ ข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบสนธิสัญญาระหว่างไทย -จีน ที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมช่าง 10 สาขาของภาคเหนือตอนบน ได้แก่ กฎระเบียบเพื่อการค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่าง ไทย-จีน กฎระเบียบการค้าและผ่านแดนของสปป.ลาว การเปรียบเทียบกฎ ข้อบังคับ การค้าชายแดนของประเทศจีนและสปป.ลาว และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภาคลุ่มแม่น้าโขง สาหรับปัญหา อุปสรรค ผลกระทบการค้าชายแดนไทย – จีนตอนใต้ ที่เกิดขึ้นจากระเบียบพิธีการทางศุลกากร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเส้นทางทางคมนาคมไม่ราบเรียบ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้าชายแดน ปัญหากฎระเบียบระหว่างประเทศเกี่ยวกับการนาเข้าและการส่งออกที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปัญหาการลักลอบซื้อขายสินค้าผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ปัญหาความปลอดภัยของรถขนส่งเมื่อเข้าไปยังต่างประเทศ ขาดสาธารณูปโภคในเส้นทางต่างประเทศ เช่น ปั๊มน้ามัน ปั๊มแก๊ส เป็นต้น ขาดหน่วยงานรับผิดชอบกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหาย ณ ประเทศทางผ่าน ปัญหาการค้ามนุษย์และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ผิดกฎหมาย ปัญหาการขาดแคลนที่พักสินค้าบริเวณใกล้เคียงด่านหรือพรมแดน ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลางในการส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทาง ปัญหาโรคติดต่อทั้งทางพืชและสัตว์ ผู้ขนส่งสินค้าขาดความรู้ความเข้าใจพิธีการศุลกากรเพราะกฎระเบียบเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จุดผ่านแดนหรือด่านเปิดทาการบางช่วงเวลาและบางครั้งช่วงเวลาไม่ตรงกัน การสื่อสารทางโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตสัญญาณไม่ค่อยชัดเจน สินค้าได้รับความเสียหายเมื่อมีการเปลี่ยนรถขนส่งสินค้า กฎระเบียบด้านพิธีการศุลกากรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทาให้ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ต้องปรับตัวบ่อยครั้ง เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบพิธีการศุลกากร ระเบียบ การตรวจสอบสินค้านาเข้าและส่งออกมีความยุ่งยากและต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ขาดห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบสินค้าพิเศษของประเทศคู่ค้า เช่น พืช สัตว์ วัตถุอันตราย การตีรถเปล่ากลับจากประเทศปลายทาง ความไม่แน่นอนของการตีพิกัดสินค้า และมีกฎระเบียบหรือกฎหมายที่จากัดการนาเข้าหรือส่งออกสินค้าบางประเภท อยู่ในระดับ มากที่สุดทุกหัวข้อเท่ากัน นอกจากนี้ยังสามารถสรุปปัญหา อุปสรรค ผลกระทบการค้าชายแดน ไทย – จีนตอนใต้ที่เกิดขึ้นจากระเบียบพิธีการทางศุลกากรออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับศุลกากร ประเด็นเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าข้ามแดน ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมาย/กฎระเบียบ ใน GMS และประเด็นอื่น ๆ

Abstract

This study aims to 1) study the pattern and process of Thailand – Southern China border’s customs formality which related to the 10 fields of Upper Northern Thailand handicraft products 2) study and gather rules, laws and taxation rights under the Thailand – China treaty concern with the Thailand – Southern China border’s customs formality and 3) study the problems, obstacles and affectation from the customs formality in Thailand – Southern China border’s trade. This study is a descriptive research. The primary data were collected by interviewing from government officers and related entrepreneurs, and together with the data from the researcher’s field trips. The secondary data were collected from the related documents; trade, service, rules, laws, statistic data and trading policy between Thailand and China. This study found that exportation is the sending of commodities out of the places in Thailand to another places outside the country. Every exported commodity has to be reported and checked in customs formality. The customs documents for exportation are Export Declaration, Invoice, Export License (if any), Certificate of Origin (if any), and others such as catalog, ingredient tags. Normally, there are 4 steps in customs formality for exportation; transferring and/or showing Export Declaration, tax/tariff proof, check and let commodity out of the country. About the export routes, land, sea and air are all the important trade route between Thailand and Yunnan. Nowadays, in Thailand, the Customs Department uses wireless electronics system for customs formality to facilitate the international trade. This all paperless process of customs formality for exportation is called E-Export, which included fee paying, information editing in case of asking permission from other departments, and getting certificates and cargo permit. ฉ From the secondary data collecting and field trip, this study found that rules, laws and taxation rights under Thailand – China treaty which related to the Thailand – Southern China border’s customs formality for 10 fields of upper Northern Thailand handicraft products included the border trade and transit law between Thailand and China, the trade and transit law of The Lao PDR., the comparison of laws and rules for border trade in China and Lao PDR., and the agreement on border transportation in the Great Mekong Sub-region area. The main problems, obstacles and affectation from the customs formality in Thailand – Southern China border trade were the problems in transportation route, illegal drug, border trade, nonstandard for import and export between the countries, goods smuggling, transportation safety in another countries, facilities such as petrol and natural gas stations, human trafficking and illegal labor, middleman, and the plants and animals contagion. Moreover, there were no responsible agency for accident and damage which occurred along the route through other countries, and no storage places near borders. There were also another problems such as the lack of customs formality knowledge of the transporters, the changing of rules and laws, the temporary close of border crossing, unclear mobile phone and internet signal and the damage from changing vehicles for suitable transportation along the way. Furthermore, it was complicated and had to many steps in official check, while did not have a special checking lab for plants, animals and hazardous materials. The transportation of an empty truck on the way back, uncertainty customs tariff, limited in importation and exportation were another big problems needed to solve. This study concluded that there were 4 main problems, obstacles and affectation in customs formality; customs issue, border transportation issue, rules and laws in GMS issue and other related issue.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

964 08 ก.พ. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่