ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การสร้างความมั่นคงด้านสังคม วัฒนธรรม สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาสังคม


อาจารย์เอกพงศ์ สุริยงค์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

282-56-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างอาชีพให้กับผู้สูงอายุเพื่อความมั่นคงในชีวิตด้วยศิลปหัตถกรรมประจาถิ่น 2) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในแขวงนครพิงค์ อาเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัฒนธรรมให้แก่ท้องถิ่น 3) เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองวงกลองตึ่งโนงของชุมชนวัดกู่เต้า อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาผลกระทบของประเพณีปอยส่างลองต่อวิถีชีวิตชุมชนในแขวงนครพิงค์ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 5) เพื่อศึกษากระบวนท่าฟ้อนเล็บ : กรณีศึกษา ช่างฟ้อนเล็บ คณะวัดกู่เต้า เพื่อเป็นองค์ความรู้สู่สถานศึกษา 6) เพื่อศึกษาการลดภาวะโลกร้อนตามโครงการธนาคารรีไซเคิล โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในแขวงนครพิงค์ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 7) เพื่อจัดการปัญหาน้าเสียจากแหล่งชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ในแขวงนครพิงค์ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ชุมชนในแขวงนครพิงค์ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และวิเคราะห์แบบพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่สนใจในการทางานหัตถกรรมประจาถิ่น ซึ่งงานหัตถกรรมที่ผู้สูงอายุให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ งานกระดาษและงานศิลปะประดิษฐ์ โดยงานหัตถกรรม สามารถนาไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ และสามารถทาเป็นอาชีพเสริมได้ ตลอดจนมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ที่ทาการผลิต งานหัตถกรรมกระดาษ ได้แก่ การทาตุงล้านนา การตัดลายกระดาษ การทาดอกไม้ประดิษฐ์ การทาช่อเครื่องบูชาสักการะต่าง ๆ การมัดย้อมกระดาษสา และการทาโคม ส่วนงานหัตถกรรมศิลปะประดิษฐ์ ได้แก่ การทาเชือกข้าวถัก เป็นต้น จากวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่าการเรียนรู้ออนไลน์ด้านสังคม ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ การนาเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชุมชนอย่างครอบคลุม ทั้งด้านขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อและศาสนา ภาษาและวรรณกรรม ศิลปกรรมและโบราณคดี การละเล่น ดนตรีและนาฏศิลป์ ควรมีการใช้สื่อออนไลน์ที่แปลกตาและน่าสนใจ ที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องศิลปวัฒนธรรม สามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารหรือผู้รับสารด้วยกันเอง จากวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่าการส่งเสริมและอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองวงกลองตึ่งโนง เพื่อสร้างโอกาสให้คนจากท้องถิ่นอื่นหรือนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้สึกรักหวงแหนและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่สืบไปชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เยาวชนเชื่อมโยงเครือข่ายในการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา ศึกษาเรียนรู้วิถีการดารงชีวิต ชุมชน ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชีวิตชุมชนจากวัตถุประสงค์ที่ 4 พบว่าปอยส่างลองเป็นพิธีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเณรในพุทธศาสนาของคนไทย ซึ่งมีเชื้อสายเป็นคนไต ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน ผลกระทบที่ปรากฏได้ชัดในประเพณีปอยส่างลองทาให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาท ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาขยะ และการลักทรัพย์ จากวัตถุประสงค์ที่ 5 พบว่าการฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม อ่อนช้อย ลีลาการฟ้อนเล็บจะแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงของผู้แสดง ส่วนใหญ่การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคลต่าง ๆ การยกย่องและเชิดชูศิลปินพื้นบ้านด้านการฟ้อนเล็บ ให้ความยกย่องครูภูมิปัญญาไทย โดยจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชน จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ของผู้ทรงภูมิปัญญา เพื่อเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ และยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญา จากวัตถุประสงค์ที่ 6 พบว่าการบริหารจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิลของชุมชน จะประสบความสาเร็จได้นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะร่วมกัน เพื่อให้เกิดจิตสานึกในการคัดแยกขยะจากครัวเรือน โรงเรียนหรือสถานที่ทางาน ฯลฯ เพื่อให้ตระหนักถึงความสาคัญของการนากลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากวัตถุประสงค์ที่ 7 พบว่าการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและประชาชนในการจัดการปัญหาน้าเสียน้า จาเป็นที่จะต้องพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเชิงบูรณาการขึ้นมา โดยเสริมสร้างเครือข่ายการประสานงานและการทางานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งให้ความสาคัญกับการให้ความรู้แก่แกนนาชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพกระบวนการเรียนรู้และริเริ่มในชุมชน พัฒนาระบบรวบรวมและจัดทาข้อมูลระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกัน สร้างกระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วมคิดร่วมทา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางสังคม สามารถนาพาให้การจัดการปัญหาน้าเสีย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

890 04 มิ.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่