
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ผลกระทบของประเพณีปอยส่างลองต่อวิถีชีวิตชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ณัฐนรี รัตนสวัสดิ์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
285-56-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
ผลกระทบของประเพณีปอยส่างลองต่อวิถีชีวิตชุมชน ในอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีปอยส่างลองและ ศึกษาผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมประเพณีปอยส่างลองของชาวไทใหญ่ที่มีต่อชุมชน ในแขวงนครพิงค์และชาวเชียงใหม่เป็นแนวทางประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือ รวมถึงเพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นปอยส่างลองเป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน ระดับประเทศ สู่สากล โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ชุมชนในแขวง นครพิงค์ และชาวเชียงใหม่ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยโดยการพรรณนา และหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ตานานประวัติความเป็นมาของประเพณีปอยส่างลองมีกล่าวกันไว้หลากหลายตานานแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ซึ่งก็ตานานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเทศกาลปอยส่างลองจะเริ่มจัดกันในฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนสี่จนถึงเดือนเจ็ดทุกปี โดย มีวัตถุประสงค์การบวชส่างลองคือ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเข้าถึงพระพุทธศาสนา ซึ่งกระบวนเเห่ ส่างลอง-จางลองนั้นอย่างน้อยจัดขึ้นสามวัน คือ “วันเอาส่างลอง” ต่อมาวันที่สองหรือ “วันรับแขก” วันสุดท้าย คือ “วันบวช” ปัญหาผลกระทบของประเพณีปอยส่างลองต่อวิถีชุมชนในอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ของชุมชนป่าเป้าและวัดกู่เต้า มีผลกระทบต่อด้านด้านสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านขยะ ปัญหาการทะเลาะวิวาท ปัญหาลักทรัพย์ เป็นต้น ดังนั้นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรจะมีมาตรการในการดูแลและป้องกันกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง
Abstract
The Effect of “Poi Sanglong” Tradition towards Community’s Ways of Life in Muang District, Chiang Mai has the purpose of this study was to study the history of Poi Sanglong Studies on the social and cultural impact of the Taiyai people on the community in the Nakhonping municipality. People in Chiang Mai and related institutes are coordinating the cooperation help. Including to inherit the local wisdom Poi Sanglong to be published and public relations in the local level. The population in this study was the community in Nakhonping municipality and people in Chiang Mai. Using sample selection method. The questionnaire was used as a tool to collect data. There are also analysis of the results by descriptive, average and standard deviation. The results of the study indicated that the legend of the history of Poi Sanglong was said to have a variety of myths vary by area. The myths are mostly related to Buddhism since the time of the Buddha period. The festival starts in summer, starting every month for most forty years ago with the purpose of accessing the Buddhism by children. The procession of Sanglong and Janglong held for 3 days. The first day is 'The day of taking Sanglong', the second day is 'The day of welcoming guests’, and the last day is 'the day of ordination'. The problems and the effects of the Sanglong tradition on the way of life in the community of Muang Chiang Mai district, Pa Pao and Wat Ku Tao. There are Impacts on society, traditions and culture. The most of problem are garbage, controversy and burglary. An important point is the agency relevant measures should be taken to prevent and cope with problems that will occur properly. The researcher has published the research about the impact of the Poi Sanglong tradition on the way of life in the community of Chiang Mai through various media to disseminate research projects at the local level. Such as radio, print media, electronic media and vinyl label.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา906 28 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445