ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การจัดการปัญหาน้ำเสียจากแหล่งชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์เอกพงศ์ สุริยงค์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

286-56-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การจัดการปัญหาน้าเสียจากแหล่งชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของปัญหาน้าเสียจากบ้านพักอาศัยของชุมชนในเขตแขวงนครพิงค์ เพื่อศึกษาบริบทการจัดการปัญหาน้าเสียจากบ้านพักอาศัยของชุมชน ในเขตแขวงนครพิงค์ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการปัญหาน้าเสียจากบ้านพักอาศัยของแขวงนครพิงค์ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน สาหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามมีจานวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้การพรรณนาและการหาค่าอัตราส่วนร้อยละ ผลจากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของปัญหาน้าเสียจากบ้านพักอาศัยของชุมชนในเขตแขวงนครพิงค์ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากน้าทิ้งจากครัวเรือน หอพัก ร้านค้า โรงแรม และธุรกิจอื่น ๆ ประกอบกับการรุกล้าลาเหมืองเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยของชาวบ้านทาให้น้า ไม่สามารถไหลผ่านได้สะดวก ก่อให้เกิดการทับถมของเศษขยะและวัชพืชเป็นสาเหตุที่ทาให้เกิดปัญหาน้าเน่าเสีย ซึ่งปัญหาน้าเสียภายในเขตแขวงนครพิงค์ได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้พักอาศัยและชุมชนในหลายด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและสังคมก่อให้เกิดโรคระบาดต่าง ๆ จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบที่เกิดจากปัญหาน้าเสียต่อสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจมากที่สุด และอับดับรองลงมาได้แก่ ได้รับ ความเดือดร้อนราคาญจากปัญหาน้าเสีย ความสะดวกในการดารงชีวิต และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย โดยผลกระทบที่เกิดจากปัญหาน้าเสียทาให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาแหล่งน้าเน่าเสียมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัญหาด้านภูมิทัศน์ ส่งผลต่อการท่องเที่ยว ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนาโรค ปัญหาน้าท่วม และชุมชนท้ายน้าไม่สามารถใช้น้าในการบริโภคและอุปโภคได้ บริบทการจัดการปัญหาน้าเสียจากบ้านพักอาศัยของชุมชนในเขตแขวงนครพิงค์ โดย การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาน้าเสียตั้งแต่ศึกษา ง ค้นคว้าปัญหาและสาเหตุของปัญหาน้าเสียที่เกิดขึ้นในชุมชน ผลการศึกษาในส่วนของกิจกรรม ในชีวิตประจาวันของครัวเรือนด้านการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้าเสียในแหล่งชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเขี่ยเศษอาหารที่ติดภาชนะทิ้งลงถังขยะก่อนทุกครั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีการใช้ตะแกรงกรองเศษอาหารก่อนระบายน้าทิ้งจากอ่างล้างจาน ในครัวเรือนมีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้าเป็นประจาและได้แก้ไขเมื่อพบเห็นการรั่วไหล มีการใช้น้ายาล้างจานในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดปริมาณน้าล้างภาชนะเกินความจาเป็น อยู่ในระดับมาก มีการล้างวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหาร รวมทั้งภาชนะที่ใช้แล้วในภาชนะที่บรรจุน้าแทน เป็นการล้างที่ประหยัดแทนการเปิดใช้น้าจากก๊อกน้าโดยตรง มีการนาน้าที่ใช้แล้วกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านบทบาทของเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้าเสียในแหล่งชุมชน ส่วนใหญ่จะเริ่มจากกิจกรรมเล็ก ๆ จนกระทั่งกิจกรรมขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการหรือสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้าเสีย โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดการน้าทิ้งน้าเสียที่ทางหน่วยงานภาครัฐได้กาหนดไว้อย่างเคร่งครัด แนวทางในการจัดการปัญหาน้าเสียจากบ้านพักอาศัยของแขวงนครพิงค์ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า เทศบาลนครเชียงใหม่ถือเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ร่วมกับสานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

546 30 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่