ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษากระบวนท่าฟ้อนเล็บเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์สรายุทธ อ่องแสงคุณ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

287-56-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการฟ้อนเล็บ ตลอดจนองค์ประกอบของคณะช่างฟ้อนเล็บ และเพื่อถ่ายทอดกระบวนท่าฟ้อนเล็บของคณะวัดกู่เต้า สู่ชุมชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย และสาธารณชน รวมถึงเพื่อยกย่องและเชิดชูศิลปินพื้นบ้าน โดยสืบทอด องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการฟ้อนเล็บ เผยแพร่ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่น ชุมชน ระดับประเทศสู่สากล ประชากร คือ กลุ่มศิลปินช่างฟ้อนเล็บประจำคณะวัดกู่เต้า คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลและนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การฟ้อนเล็บ นับเป็นการฟ้อนโบราณที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเป็นการฟ้อนที่สวยงามและมีลีลาอันอ่อนช้อย ผู้แสดงแต่ละชุดของแต่ละหมู่บ้านจะใช้จำนวนคนแตกต่างกันไปแต่ที่นิยมกันมากคือ จำนวน 4 คู่ หรือ 8 คน และจะไม่เกิน 16 คน แต่ก็ไม่ได้ห้ามว่าเกิน 16 คน การแต่งกายจะแต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงลายขวาง เสื้อคอกลมแขนยาวและห่มผ้าสไบเฉียงทับ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้ ห้อยอุบะ และสวมเล็บยาวทั้ง 8 นิ้ว เว้นแต่นิ้วหัวแม่มือ รูปแบบกระบวนและลีลาท่าฟ้อนไม่ได้กำหนดตายตัวแต่ละครูหรือแต่ละวัดอาจแตกต่างกันไป โดยท่ารำต่าง ๆ ดังกล่าวอาจมีการเพิ่มท่า ตัดตอนหรือลำดับท่าก่อนหลังตามที่ครูจะกำหนด สำหรับเพลงที่ใช้บรรเลงก็แล้วแต่ผู้เป่าแนจะกำหนดอาจใช้เพลงแหย่ง เพลงเชียงแสน เพลงหริภุญชัยหรือลาวเสี่ยงเทียน วงดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนเรียกว่าวง “ตึ่งโนง” ประกอบด้วยกลองหลวง ต่อมาใช้กลองแอว ปี่แน 2 เลา คือ แนน้อยและแนหลวง ฉาบใหญ่ ตะโลดโป๊ด และฆ้องใหญ่ ซึ่งการฟ้อน มี 7 จังหวะและแบ่งท่ารำออกเป็น 4 ชุด การถ่ายทอดกระบวนท่าฟ้อนเล็บของคณะวัดกู่เต้าสู่ชุมชน ตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันด้วยวิธีการ คือ การบอกเล่าหรือการบรรยาย สาธิต และปฏิบัติจริง รวมถึงให้เรียนรู้จากสื่อด้วยตนเอง การยกย่องและเชิดชูศิลปินพื้นบ้านด้านการฟ้อนเล็บที่ชุมชนวัดกู่เต้า คือ จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ของผู้ทรงภูมิ

Abstract

The research aim to (1) to study the history of ‘fon leb’ dance as well as elements of ‘fon leb’ dance perform, (2) Pass on the postures of ‘fon leb’ dance of Wat Ku Tao group to Community schools, universities and public and (3) To honor folk artists by inherited local knowledge of ‘fon leb’ dance and published by various media. Population are Wat Ku Tao group of ‘fon leb’ dance. Research tools include interview and Data collection, analysis, presentation by describing the findings. The research found that ‘Fon Leb’ dance is a Thai dance from Northern Thailand Passed down from generation to generation. The movement of FonLeb dance is very slow, delicate and gentle. The number of dancers are 4 couple or 8 dancers but not over 16 dancers. The Traditional clothing for Fon Leb performance, the dancers will wear shirt with long sleeve, sarong and their hair are tie up as a bun. They are put the nail is made of brass and 8 inches (excluding thumb). The music are not always the same, some of the songs that are use in the performance is Chiangsan Hariphunchai or LaoSiengTien. There’s all together 7 rhythm in Fon Leb and the dance moves are separate into 4 sets. to Promote, Conserve and Pass on Arts and Culture of Chiang Mai Province of Wat Ku Tao group of ‘fon leb’ dance by demonstration and practice or practice as well as to learn from the media. Provide a source of learning, wisdom, Thailand to honor folk artists of ‘fon leb’ dance and establishing centers of learning.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

861 28 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่