ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตกับระดับผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


อาจารย์ศุภทัต แดงเครื่อง

คณะวิทยาการจัดการ

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

313-56-MGT-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตกับระดับผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และนักศึกษาที่เสพติดอินเทอร์เน็ต และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตกับระดับผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) ด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 403 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20.81 ปี เรียนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และมีผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม (GPA ระหว่าง 3.50-4.00) และระดับปานกลาง (GPA 2.50-2.99) ด้านการเสพติดอินเทอร์เน็ต พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพติดอินเทอร์เน็ต (AD) ร้อยละ 32.26 กลุ่มเสี่ยงต่อการเสพติดอินเทอร์เน็ต (PAD) ร้อยละ 63.77 และพบว่ามีพฤติกรรมใช้งานแบบผู้ใช้งานปกติทั่วไปเพียงร้อยละ 3.97 ด้านพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษา พบว่าส่วนใหญ่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 8 ชั่วโมง และใช้งานระหว่าง 42-77 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีการใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าอินเทอร์เน็ตต่อเดือนเฉลี่ยประมาณ 101-300 บาท และมีพฤตกรรมการใช้งาน Social Media ทั้งการใช้ Facebook, Line และ Youtube ในระดับมากที่สุด สำหรับนักศึกษาที่เสพติดอินเทอร์เน็ตพบว่าในกลุ่มนักศึกษาเพศชายพบว่ามีผู้เสพติดอินเทอร์เน็ต (AD) ร้อยละ 41.22 และในกลุ่มนักศึกษาเพศหญิงมีสัดส่วนผู้เสพติดอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 27.94 นักศึกษาที่เสพติดอินเทอร์เน็ต ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 8 ชั่วโมง ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยระหว่าง 42 - 76.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่าง 101-300 บาทต่อเดือน จาการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Reference statistic) โดยใช้ค่าไคสแควร์ (Chi-square) ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าที (Independent Sample T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-Test (Analysis of Variance: ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในด้านระดับผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) เพศ ระยะเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อวัน และระยะเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตในหนึ่งสัปดาห์ มีระดับของพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ต แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านคณะ ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ต ด้านความสัมพันธ์ของระดับผลการเรียนเฉลี่ยและพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ต สามารถสรุปได้ว่า นักศึกษาที่มีระดับของเกรดเฉลี่ยที่แตกต่างกันนั้น มีระดับการเสพติดอินเทอร์เน็ตในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยในระดับปานกลาง (GPA 2.50-2.99) มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ต มากกว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยในระดับดีเยี่ยม (GPA 3.50-4.00) และระดับค่อนข้างดี (GPA 3.00-4.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract

This research aims to study the internet uses among Undergraduate Students of Chiang Mai Rajabhat University (CMRU) and identify the relation between the internet addiction (AD) and academic performance on the GPA-Grade Average Point from previous semester. This study used quantitative research methodology by collecting data from 403 questionnaires. It is found that respondents are mostly female and 20.08 years averagely. They most spend time using internet during 8-12 pm, in every day, over 8 hours per day and 42-76 hours per week. The respondents mostly spent time on the social media like Facebook, Line and Youtube. In this study, one-third of students is the internet addict (AD = 32.26%) and the two-third is the risky group of the possible addicts (PAD =63.77%). In examining the relationship between internet addiction and academic performance, the data was calculated by using Chi-square, T-Test, F-Test and Least Significant Difference (LSD) to describe the relation between the Internet addiction and the academic performance, the demographic data and the internet uses behavior. The findings in this research are 1) the internet addiction is related to a gender (P<0.05), especially the male students 2) the internet addiction is significantly related to the time uses (P<0.05) mostly in the excessive use and 3) there is relation between the internet addiction and academic performance (P<0.05). KEY WORDS: Internet Addiction, Internet Uses, Media Addiction, Media Effects, Academic Performance

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

339 11 มิ.ย. 2561

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่