
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
พฤติกรรมการรับแรงตัดของผนังเบาโครงเคร่าไม้ที่ปิดผิวด้วยแผ่นไม้ไผ่อัด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไกรสร ลักษณ์ศิริ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
316-56-SCI-CMRU
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดและพัฒนาตารางแนะนาความสูงใช้งานปลอดภัยสาหรับผนังเบาโครงเคร่าไม้ที่ปิดผิวด้วยแผ่นไม้ไผ่อัด เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้วัสดุแผ่นไม้ไผ่อัดในงานผนังเบาได้อย่างประหยัดและมีความปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม การศึกษาใช้การทดสอบตัวอย่างผนังขนาดเท่าของจริงตามวิธีการที่ระบุในมาตรฐาน ASTM E 72 (Standard Methods of Conducting Strength Tests of Panels for Building Construction) ผนังตัวอย่างประกอบขึ้นโดยใช้ไม้ 3 รูปแบบ คือ ไม้ยางแดง ขนาดระบุ 1”x2” ไม้ยางแดงขนาดระบุ 1.5”*3.0” และไม้ยางแดง finger joint ขนาดระบุ 1.5”x3” โครงเคร่าหลักถูกติดตั้งตามแนวดิ่งวางที่ระยะห่าง 0.60 ม. วัสดุแผ่นผนังที่ใช้ได้แก่ แผ่นไม้ไผ่อัดความหนาระบุ 6 มิลลิเมตร ผลการทดสอบที่ได้ถูกนามาวิเคราะห์และเปรียบเทียบในรูปของ ค่าความต้านแรงดัด รูปแบบการวิบัติ และความดันประลัย ค่าความต้านทานการดัดประสม (Composite Bending Stiffness) ที่ได้จะถูกนามาวิเคราะห์หาความสูงใช้งานของผนังที่ขอบเขตการแอ่นตัว L/360, L/240 และ L/120 สาหรับความดันทางข้างเท่ากับ 25, 50, 75 และ 100 กก./ตร.ม. ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า เมื่อติดตั้งโครงเคร่าที่ระยะห่าง 0.60 เมตรและใช้แผ่นไม้ไผ่อัดความหนาระบุ 6 มิลลิเมตร เป็นวัสดุปิดผิวแล้ว การใช้โครงเคร่าขนาด 1”x2” จะสามารถใช้งานสาหรับผนังที่มีการปิดผิวด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่นดี ที่มีความสูงโดยประมาณไม่เกิน 2.00 เมตร ส่วนการใช้โครงเคร่าขนาด 1.5”x3” นั้นสามารถใช้งานได้ทั้งกับผนังที่ปิดผิวด้วยวัสดุที่แตกได้ง่าย โดยมีความสูงใช้งานประมาณ 3.00 เมตร และใช้ได้กับผนังที่ปิดผิวด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่น ที่ความสูงไม่เกิน 3.80 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นความสูงที่เพียงพอต่อการใช้งานในบ้านพักอาศัยขนาดเล็กทั่วไป ส่วนกรณีของไม้ finger joint นั้น พบว่าการวิบัติมักเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อ การใช้ไม้ finger joint สาหรับงานโครงสร้างจึงควรอ้างอิงข้อมูลจากผู้ผลิตแต่ละราย และ/หรือ กาหนดให้มีการทดสอบเพื่อประเมินคุณสมบัติการรับแรงดัดก่อนนามาใช้งาน
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา448 12 มิ.ย. 2561

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555