
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเมืองด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านสุภาพกาย
อาจารย์กานต์ชัญญา แก้วแดง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
334-57-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิผลของบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอยู่ในเขตเมืองด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน และผู้มีส่วนได้เสีย 13 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการใช้บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Pair –T test ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านสุขภาพกายของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับการใช้ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพเป็นประจำ ได้แก่รูปแบบการนวด, บีบ มากที่สุด ร้อยละ 64.3 รองลงมาได้แก่ รูปแบบภูมิปัญญา จอบพิษและย่ำข่าง ร้อยละ 51.1 การเอาม่าน,ลั่นม่าน,บีบม่าน ร้อยละ 46.3 การแหก ร้อยละ 44.3 คะแนนในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน (E1) และผลของการใช้บทเรียน (E2) เท่ากับ 83.12 / 86.23 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น พบว่า ค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้บทเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนทดลองใช้บทเรียนของกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (P=value = 0.000) ในส่วนของความพึงพอใจผู้สูงอายุต่อบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะและความต้องการที่จะให้มีการจัดตั้งชมรมด้านภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาภายในชุมชน โดยให้มีการจัดกิจกรรมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
Abstract
This study The purpose is to build and test the effectiveness of local science lesson about health promotion among urban elderly with Lanna local wisdom. The sample used in this study include the elderly in TambonSuthep, Chiang Mai of four hundred people and stakeholders, 13 people have collected data by questionnaire. Group Chat Depth interviews And the local science lessons Data were analyzed using the arithmetic mean. The standard deviation Pair -T test. The study found that the mean behavior using wisdom over the health of the elderly. Overall, in the wisdom of regular health care. Including massage patterns, squeeze the most, followed by 64.3 percent. Wisdom format Spade poisoning and poaching barbering 51.1 percent of the curtain, fire curtains, squeeze curtains 46.3 percent overshoot of 44.3 points in the activities between classes (E1) and the effects of the lesson (E2) equals 83.12 / 86.23 by. Comparison science lessons achievement test scores found that the average knowledge after the trial lesson is higher than the first trial lesson of the elderly. Significant statistically significant at 0.05 (P = value = 0.000) in satisfaction of the elderly on local science lessons. Satisfaction at the high level. Suggestions and demands to the establishment of the club Lanna wisdom within the community. The events are held at least one time per month.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา503 07 มิ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445