ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรม โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชไมมน ศรีสุรักษ์

คณะครุศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

351-57-EDU-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน (2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) จากการ เก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตเทศบาลอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการเสนอชื่อ (Snowball Sampling) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth interview) และ เก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาความต้องการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน ได้มาจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครูปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษาที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) จำนวน 30 คน โดยวิธีการวิเคราะห์สถานการณ์แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง (Situational Analysis by Community Participation) และวิธีการฝึกอบรมครูปฐมวัย (Teacher Trainees) จำนวน 9 คน โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโครงการศึกษาเอกเทศกับผู้วิจัย จำนวน 12 คน เป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์งานฝึกอบรมครู ผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 100 โดยครูปฐมวัยใช้วิธีการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) แบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental design)) กับเด็กปฐมวัยจำนวน 9 ชั้นเรียน จำนวน 203 คนที่เรียนในโรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) ภาคเรียนที่ 1/2558 โดยสามารถส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านและการเรียนรู้จริยธรรสำหรับเด็กปฐมวัยที่ควรมีในชุมชน ได้แก่ (1) ความมีวินัย (2) ความรับผิดชอบ (3) ความมีน้ำใจ (4) ความประพฤติดี (5) ความซื่อสัตย์ (6) ความพอเพียง (7) ความใฝ่เรียนใฝ่รู้ และ (8) การรักความไทย ผลการศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน พบว่าเด็กปฐมวัย ที่เป็นนักเรียนอนุบาลโรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน รวมทั้งสิ้น 230 คน มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (pretest) อยู่ในในระดับดีและพอใช้ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม (posttest) มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ในระดับ ดีมาก (ร้อยละ 100.00) เมื่อศึกษาเปรียบเทียบ ผลการประเมินก่อนการพัฒนา กับหลังการพัฒนา เป็นรายห้อง พบว่าครูปฐมวัยทุกคน สามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน ทำให้สามารถการพัฒนาศักยภาพนักเรียนได้ดีมีผลพัฒนาการหลังการประเมิน: ค่าเฉลี่ยร้อยละ 100 โดยครูสามรถแต่งหนังสือเล่มเล็ก หนังสือนิทานเล่มใหญ่ประกอบหน่วยการเรียนรู้ใหม่ครบถ้วนจำนวน 9 หน่วย ได้แก่ (1) หน่วยเห็ดนางฟ้าบ้านเรา (2) หน่วยกลองสะบัดชัย (3) หน่วยหนูดีชอบนวด (4) หน่วยต้นกล้วยแสนสนุก (5) หน่วยไข่เค็มบ้านเรา (6) หน่วยขนมกล้วยบ้านเรา (7) หน่วยฟ้อนเล็บ (8) หน่วยผักกาดจอบ้านเรา และ (9) หน่วยปั้นดินยิ้มได้ ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยแบบบูรณาการจริยธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน ไม่พบปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนา เนื่องจากการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาและแก้ปัญหาการศึกษาของสถานศึกษาในชุมชนอย่างแท้จริง คำสำคัญ ครูปฐมวัย การพัฒนาการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัย การเรียนรู้แบบบูรณาการจริยธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน

Abstract

This research aims 1) to develop the quality development of early childhood teachers instruction for the integration the Ethic Learning with Local Wisdoms Based, 2) to study results of the development of early childhood teachers instruction and 3) to study the problem and obstacle from this research. This study is the research and development pattern by using the study in the site-study as well as the site-study experiment. For data collection at the site-study, in-depth interview was used with 9 local wisdoms expertise. Their names were selected by snowball sampling method. Situational analysis was used to study problem of education and community need. Community participants were 30 persons, who were early childhood teachers, school principal, and committee of the school who were parents of early childhood children. Nine teachers were trained by using the 21st education techniques, authentic assessment, classroom action research etc. 12 students of Rajabhat Chiangmai University who were enrolled the “Baby thesis subject” and these students were supervised by the researcher and were participated during the training. The site-study experiment was designed by data collection of the classroom action research by early childhood teachers, who were constructed their instructions for integration the ethic learning with local wisdoms based, used with 203 early childhood students from 9 classrooms in the 1st semester of 2015 academic year. Both quasi experimental design and the nonrandomized control group design (nonequivalent control group design) were used in this research. These early childhood students were evaluated their development by using the match pair method, they have equivalent ability. The results from the site-study found that, early childhood teachers can developed the quality of their instructional for integration the ethic learning with local wisdoms based that local by constructing 9 units of plan experiences for early childhood children from local wisdom is 100 , contains knowledge and ethics. Ethics for early childhood rearing in the locals were (1) self-discipline, (2) responsibility, (3) kind helpful, (4) good manner, (5) honesty, (6) sufficiency, (7) eager for knowledge for knowledge and learning and (8) Thai culture conservation. These knowledge transfers to early childhood are mainly about nutrition, cultural art, Thai traditional massage and handicrafts. Early childhood children learned this knowledge and ethics by using of experinces plans, learning achievement: pre-test and post-test, observation, big books for children, and small books for teachers. All innovations were constructed by teachers and students from Rajabhat University who were enroll the “Baby thesis subject” with researcher. This learning unit contains 9 units, which are (1) Oyster Mushroom of our hometown, (2) The victory drum, (3) Nudee loves massage, (4) Fun banana trees, (5) Salted eggs of our hometown, (6) banana sweet of our home town, (7) Nailed dance, (8) Choy sum of our home town and (9) Smiley mold clay. The result from the study-site experiment found that, the innovative instruction has its effectiveness. The result of early childhood student’s achievement score by using achievement’s test found that, the post-test score is higher than pre-test , early childhood children have progress in their learning development, which were found by teacher’s observation record between learning; the score was about 100%. This study has obstacle of Over-loaded teachers duties were obstacle, so they had less time for this research. Teachers solved the obstacle by using knowledge management and participation with students from Rajabhat Chiangmai University who were constructed the innovation. Furthermore, teachers and community were satisfied in the quality development of early childhood teacher’s instruction for integration the ethic learning with local wisdoms based. Keyword: Early childhood teachers, The Quality Development of Early Childhood Teachers Instruction, Integration the Ethic Learning, Local Wisdoms Based

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

703 18 ม.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่