ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การวิจัยและพัฒนาเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมบน ฐานเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโนดาษ์ รัชเวทย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

360-57-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การสร้างรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง และภูมิปัญญาท้องถิ่น อาเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาความหลากหลายของแมลงน้าและการประยุกต์ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้าของแม่น้าแม่แจ่มในพื้นที่ต้นน้าแม่น้าแม่แจ่ม อาเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพชุมชนเกี่ยวกับการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ของอาเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ปัจจัย เงื่อนไขสู่ความสาเร็จในการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุนชนโดยชุมชน และประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยชุมชน สร้างชุมชนต้นแบบที่สามารถเป็นตัวอย่างของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน พบว่ามีความหลากหลายในระดับปานกลางค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับแหล่งน้าอื่นในพื้นที่ภาคเหนือ โดยแมลงน้าที่พบมีความสัมพันธ์กับลักษณะพื้นท้องน้าที่แตกต่างกันไปตามแต่ละฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป โดยความหลากหลายของแมลงน้าที่พบมีความสัมพันธ์กับคามแตกต่างกันไปตามแต่ละฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับชุมชน โดยชึความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวอย่าง โดยชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเก็บตัวอย่างและประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการใช้แมลงเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้า ซึ่งชุมชนสามารถใช้ติดตามสภาพแวดล้อมร่วมกับปัจจัยทางกายภาพและเคมีได้ การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรน้าโดยชุมชนท้องถิ่น บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยและหาองค์ความรู้ ผ่านการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่โดยจะเป็นศึกษาข้อมูล สถานการณ์การจัดการน้า โดยใช้ การสัมภาษกลุ่ม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ และข้อมุลทุติยภูมิ โดยมีการกาหนดกลุ่มตัวอย่างและแหล่งข้อมูล คือ กลุ่มชาวบ้าน ผู้นาชุมชน, ผู้บริหารท้องถิ่น และบุคลากรในสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ส่วนการศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการจัดการระบบเหมืองฝาย และพิธีกรรมอนุรักษ์ต้นน้า ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถดาเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองได้ต่อไป

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

501 10 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่