ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการการสร้างความรู้ด้วยตนเองของนักศึกาครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี


อาจารย์ ดร.พสุ ปราโมกข์ชน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

378-57-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยที่ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาครุศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึก ทักษะเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครุศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ได้มาจากการให้นักศึกษาทำ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นแบบสี่ตัวเลือกจำนวน 46 ข้อ ที่มีบริบทที่สอดคล้อง กับประเทศไทยโดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.869 จากการคำนวณตามสูตรค่า Kr-20 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่ม อาสาสมัครจำนวน 51 คนซึ่งเป็นนักศึกษาครุศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาในชั้น ปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าระดับความเข้าใจในทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างมีอยู่สองทักษะที่อยู่ในระดับน้อยและปานกลางได้แก่ทักษะการลงความ คิดเห็นจากข้อมูลและทักษะการสังเกตตามลำดับ ส่วนทักษะอื่น ๆ ของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นั้นอยู่ระดับมากและมากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเพศ เกรดเฉลี่ยกับทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง สำหรับวัตถุประสงค์ที่สองของโครงการวิจัยนี้พบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรม ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (E1/E2) เท่ากับ 87.62/87.02 นอกจากนี้ รายละเอียดของผลศึกษาของแต่ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะได้ ถูกนำไปอภิปรายเปรียบเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้

Abstract

The purposes of this study were (1) to investigate science process skills by An Understanding of Science Process Skill Test. (2) to construct and evaluated the efficiency of a practical package for development of science process skills by Utilizing Laboratory Activities with an integration of a Social Constructivist Approach for Undergraduate Science Education Students’. The science process skills of science education students’ were assessed by the performance test on science process skill. The performance test used for data collection was a four multiple choice (46 items) base on Thai context which had validity and reliability of 0.869 by using Kr-20 formula. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The sample group of this study consists of 51 volunteered of undergraduate science education students’ which is 4th year students of pre-service science teachers’ from Chiang Mai Rajabhat University. The results from this study revealed the science process skills of science education students’ were fair and satisfactory level in inferring and observing skills, respectively. The other science process skills stayed at good and excellent level. Moreover, this study also determined the relationship among the subjects’ gender and GPA with science process skills. For second objectives, the efficiency of practical package (E1/E2) was 87.02 /87.62. Therefore, the details of each science process skills and the efficiency of practical package were discussed with previous related work.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

572 29 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่