
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะเด็กด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์เด็กจังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.สายพิณ สังคีตศิลป์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
382-57-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
การทากิจกรรมทัศนศิลป์สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะเด็กด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์เด็กจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สถานภาพ ลักษณะทางกายภาพของเด็กด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์ และเพื่อจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ ด้านสังคม อารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์ ทั้งนี้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จังหวัดเชียงใหม่ จานวน 25 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามและแบบสังเกต จากนั้นจึงนามาวิเคราะห์และแสดงผลออกมาเป็นตาราง (Table) อัตราร้อยละ (Percentage) รวมถึงการอภิปรายผลใต้ตาราง เพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงของเด็กด้อยโอกาสก่อนและหลังการทากิจกรรมทัศนศิลป์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุระหว่าง 1-10 ปี ด้านน้าหนักกลุ่มตัวอย่างมีน้าหนัก 31-40 กิโลกรัม มีส่วนสูง 101-150 เซนติเมตร ซึ่งมีภูมิลาเนาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามลาดับ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ โดยพักอาศัยอยู่ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่มากที่สุด รองลงมาคืออาศัยอยู่กับบิดามารดา ตลอดจนกลุ่มตัวอย่างไม่มีภาวะความพิการ สาหรับความเป็นมาและพฤติกรรมของเด็กโดยภาพรวมและด้านภาพรวมปัญหาของเด็ก ที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนดี มีจิตสาธารณะ กล้าแสดงออก เข้ากับสังคมได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนอีกกลุ่มจะเป็นกลุ่ม ที่มีปัญหาด้านกระบวนการคิด ขาดจิตสาธารณะ ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ไม่ชอบเข้าสังคมและ ขาดความคิดสร้างสรรค์ สาหรับโปรแกรมการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพเด็กด้อยโอกาสทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สังคม อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. กิจกรรมการปั้นคนเดียว พฤติกรรมด้านจิตใจ/อารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างก่อนปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับของพฤติกรรมระดับ 2-3 คือ ปฏิบัติน้อย (มากกว่า 20-40%) - ปฏิบัติปานกลาง (มากกว่า 40-60%) แต่หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้วอยู่ในพฤติกรรมระดับ 4-5 คือ ปฏิบัติมาก (มากกว่า 60-80%) - ปฏิบัติมากที่สุด (มากกว่า 80% ขึ้นไป) 2. การปั้น พฤติกรรมด้านจิตใจ/อารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับของพฤติกรรมระดับ 1-2 คือ ปฏิบัติน้อยที่สุด (น้อยกว่า 20% ลงมา) ปฏิบัติน้อย (มากกว่า 20-40%) แต่หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้วอยู่ในระดับของพฤติกรรมระดับ 3-4 คือ ปฏิบัติปานกลาง (มากกว่า 40-60%) - ปฏิบัติมาก (มากกว่า 60-80%) 3. การปั้นเป็นกลุ่ม พฤติกรรมด้านจิตใจ/อารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ของ กลุ่มตัวอย่างก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับของพฤติกรรมระดับ 3-4 คือ ปฏิบัติปานกลาง (มากกว่า 40-60%) - ปฏิบัติมาก (มากกว่า 60-80%) แต่หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้วอยู่ในระดับของพฤติกรรมระดับ 4-5 คือ ปฏิบัติมาก (มากกว่า 60-80%) - ปฏิบัติมากที่สุด (มากกว่า 80% ขึ้นไป)
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา341 25 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445