
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การจัดการปัญหาน้ำเสียโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์ขยะแปลงเป็นทุน ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวัฒน์ โสมดี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
383-57-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
การจัดการปัญหาน้าเสียโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์ขยะแปลงเป็นทุน ในอาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุ ผลกระทบ และบริบทการจัดการปัญหาน้าเสีย ในพื้นที่ตาบลแม่สา อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างจิตสานึกในการแก้ไขปัญหาขยะ ของเสีย ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสภาพแวดล้อมและปัญหาน้าเสียด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แปลงขยะเป็นทุน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและดาเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างในท้องถิ่นที่ใช้ในการตอบปัญหาน้าเสีย จานวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษา จานวน 70 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จานวน 60 คน และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จานวน 60 คน จากนักเรียนทั้งหมด 190 คน (ทาทั้งโรงเรียนบ้านแม่สา) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา จากนั้นจึงแสดงผลออกมาเป็นตาราง (Table) อัตราร้อยละ (Percentage) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 46-60 ปี ระดับการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา มีสถานภาพหัวหน้าครอบครัว มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่มากกว่า 15 ปี ขึ้นไป อาชีพหลักธุรกิจส่วนตัว รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท อาศัยบ้านเดี่ยว มีบ้านและที่ดินเป็นของ และกลุ่มตัวอย่างใช้น้าจากน้าประปามากที่สุด ใช้น้าเฉลี่ยต่อเดือน คือ 101-200 บาท กลุ่มผู้พักอาศัยไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้าเสียเลย ผลกระทบที่ได้รับนั้นจะเป็นผลกระทบด้านสุขภาพ ร่างกายและจิตใจมากที่สุด แหล่งที่ก่อให้เกิดปัญหาน้าเสียมากที่สุดคือ สถานประกอบการ แหล่งกาเนิดน้าเสียที่ก่อให้เกิดการปล่อยน้าเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจ / ขาดความตระหนักมากที่สุด โดยผลกระทบที่เกิดจากปัญหาน้าเสียทาให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาแหล่งน้าเน่าเสีย ซึ่งปัญหาน้าเสียแก้ไขไม่ได้ และกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยว่าน้าเสียต้องผ่านระบบบาบัดน้าเสียก่อนปล่อยทิ้งและทุกบ้านควรมีระบบบาบัดน้าเสีย ทุกบ้านควรมีบ่อดักไขมัน+บ่อซึม โดยการบาบัดน้าเสียใช้พลังงานมาก ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานที่ใช้ในการบาบัดน้าเสียได้คือ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการ ง น้าเสียโดยการประหยัดพลังงานให้แก่เยาวชน โดยแหล่งระบายน้าเสียหลังจากการบาบัดแล้ว คือต่อท่อลงสู่ท่อระบายน้าสาธารณะ ผู้ที่ควรรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาน้าเสีย คือ เทศบาล การแก้ไขปัญหาน้าเสียในปัจจุบันยังไม่น่าพอใจ กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการกวดขัน ลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบโดยเคร่งครัด เมื่อพิจารณาถึงเรื่องของการมีระบบบาบัดน้าเสียแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่ยินยอมจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการน้าเสีย โดยข้อเสนอเสนอเกี่ยวกับอัตราค่าธรรมเนียม ที่สามารถจ่ายได้สูงสุดต่อเดือนในการจัดการน้าเสียไม่มีความคิดเห็น หลักเกณฑ์ที่กลุ่มตัวอย่าง ได้เสนอไว้ในอันดับแรกคือ ตามประเภทอาคาร และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้าน การจัดการปัญหาน้าเสีย จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ข่าวสารด้านการจัดการน้าเสียจะ ใช้สื่อวิทยุ / หอกระจายข่าว กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้พักอาศัยในตาบลแม่สา อาเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรมการมีส่วนร่วมด้านบริหารจัดการปัญหาน้าเสียจากแหล่งชุมชนในตาบลแม่สา อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ตะแกรงกรองเศษอาหาร ก่อนระบายน้าทิ้งจากอ่างล้างจานอยู่ใน ระดับมาก ในครัวเรือนมีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้าเป็นประจาและได้แก้ไข เมื่อพบเห็น การรั่วไหล อยู่ในระดับมาก การล้างวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหาร รวมทั้งภาชนะที่ใช้แล้วในภาชนะที่บรรจุน้าแทน เป็นการล้างที่ประหยัดแทนการเปิดใช้น้าจากก๊อกน้าโดยตรง อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในการล้างภาชนะท่านจะเขี่ยเศษอาหารที่ติดภาชนะทิ้งลง ถังขยะก่อนทุกครั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการนาน้าที่ใช้แล้วกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสม อยู่ในระดับปานกลาง และมีการใช้น้ายาล้างจานใน ปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดปริมาณน้าล้างภาชนะ เกินความจาเป็น อยู่ในระดับมาก ผู้วิจัยได้ริเริ่มกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แปลงขยะเป็นทุน เพื่อสร้างจิตสานึกในการแก้ไขปัญหาขยะ ของเสีย ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสภาพแวดล้อมและปัญหาน้าเสีย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากทุกหัวข้อ และกลุ่มตัวอย่างมีจิตสานึกต่อปัญหาน้าเสียในท้องถิ่น ปัญหา น้าเสียในพื้นที่อื่น ๆ เห็นความสาคัญของปัญหา จิตสานึกต่อส่วนรวม การมีส่วนร่วมเผยแพร่ข้อมูล/บอกต่อคนในครอบครัว เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้าเสียอยู่ในระดับมากทุกหัวข้อ
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา430 25 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445