
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
รองศาสตราจารย์กาญจนา สิริกุลรัตน์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
384-57-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 เรื่อง คือ เรื่องการนำความร้อน การเคลื่อนที่ในแนวราบ และวงจรไฟฟ้า โดยเน้นความรู้ทางฟิสิกส์ประกอบกับวิธีการทดลองที่นักเรียนสามารถใช้ประสาทการได้ยิน และประสาทด้านการสัมผัสในการศึกษาได้โดยง่าย มีการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลจากคะแนนการวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลคะแนนหลังเรียนเมื่อได้ใช้ชุดการสอนแต่ละเรื่องเพิ่มขึ้นโดยชุดการสอนเรื่องวงจรไฟฟ้าให้ผลคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงสุดที่ร้อยละ 42.5 สำหรับการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลความก้าวหน้าทางการพัฒนาการเรียนรู้ (E.I.) พบว่าชุดการสอนเรื่องวงจรไฟฟ้าได้ค่าสูงสุดเช่นกัน คือ มีค่าเท่ากับ 0.7647 ในด้านประสิทธิภาพของชุดการสอนพบว่าชุดการสอนในเรื่องการนำความร้อนและเรื่องวงจรไฟฟ้า อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยมีค่า E1/E2 เท่ากับ 96.67/84.33 และ92.50/90.00 ตามลำดับ สำหรับผลการประเมินความเข้าใจหลังเรียนจากการสัมภาษณ์นักเรียนที่ผ่านการเรียนด้วยชุดการสอน พบว่านักเรียนทุกคนมีความเข้าใจในเรื่องที่เรียนเป็นอย่างดี และนักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจเฉลี่ยระดับพึงพอใจมาก
Abstract
This research is the creation of a teaching to learning science for students who are visually impaired Grade 1 to Grade 3 school of The Northern School for the Blind. The subject matter amount three stories, including the story of thermal conductivity, the movement in the horizontal and electrical circuits, by focusing on the knowledge of physics with experiments that students can use the hearing nerve. And sensory experience in the field of education has to offer. Data analysis and evaluation of the measurement before and after learning. The study found that scores on the instruction set, each enhanced by a series of teaching points after learning the circuit yielded the highest average increase at 42.5 percent. Analyzing the effectiveness index of Progressive in Learning (E.I.) showed that teaching about the circuit as well as the maximum value is equal to 0.7647 in the performance of teaching is found tutorial series on thermal conductivity and electrical circuits. In line with the standard E1 / E2 is equal to 96.67 / 84.33 and 92.50 / 90.00 respectively for understanding after learning the results of interviews with students through classroom instruction set. Found that all students have an understanding of that subject as well. And all students were satisfied with the level of customer satisfaction.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา275 15 พ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445