ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การออกแบบสร้างเครื่องอัดเม็ดชีวมวลขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุพงษ์ หมั่นขีด

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

401-57-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

เครื่องอัดเม็ดชีวมวลขนาดเล็กสาหรับครัวเรือนได้ถูกออกแบบสร้าง สาหรับแปลงสภาพ ชีวมวลขนาดเล็กให้สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้ประโยชน์ภายในบ้านพักอาศัยได้ การนาชีวมวลมาอัดเม็ดทาให้ค่าพลังงานความร้อนสูงขึ้น การดาเนินงานประกอบด้วยการออกแบบและสร้าง แผ่นรังผึ่งซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรู (D) 6.5 mm ความหนา (L) 33 mm ค่าอัตราส่วนยังผล (Aspect ratio, L/D) เท่ากับ 5.0 ลูกกลิ้งมีความสูง 70 mm มีเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ ขนาด 6.5 แรงม้าเป็นแหล่งต้นกาลัง โดยมีเกียร์ทดและเฟืองท้ายเก่าของรถยนต์เพิ่มแรงบิดและส่งผ่านกาลัง ผลการทดสอบเม็ดชีวมวลที่ผลิตจากขี้เลื้อยไม้สักผสมกับแป้งมันในอัตราส่วน (ขี้เลื้อย : แป้งมัน) 6:1 ความชื้น 45 %WME ให้ค่าดัชนีความทนทานเฉลี่ยมากสุดเท่ากับ 97.17 ± 0.55 % โดยที่อัตราส่วน 9:1ความชื้น 45 %WME ให้ค่าความหนาแน่นรวมเฉลี่ยมากที่สุด ความยาวเฉลี่ยของเม็ดชีวมวลสูงสุดและ อัตราการสิ้นเปลืองน้ามันต่าสุด เท่ากับ 535.21 ± 0.26 kg/m3 31.81± 1.72 mm และ 858 ± 15.87 ml/hr ตามลาดับ สาหรับที่อัตราส่วน 9:1 ความชื้น 50 %WME ให้ค่าอัตราการผลิตเม็ดชีวมวลเฉลี่ยสูงสุด ค่าพลังงานความร้อนเฉลี่ยมากที่สุดและ ปริมาณขี้เถ้าเฉลี่ยน้อยสุดเท่ากับ 3.76 ± 0.63 kg/hr 18.34 ± 0.43 MJ/kg และ 0.65 ± 0.26% ตามลาดับ การเปรียบเทียบคุณภาพของเม็ดชีวมวลกับเกณฑ์มาตรฐานเกรดคุณภาพสูงของกระทรวงพลังงาน เม็ดชีวมวลที่ผลิตจากทุกเงื่อนไขมีค่าความหนาแน่นรวมต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานกาหนดไว้ที่ 600 kg/m3 สาหรับเม็ดชีวมวลที่ผลิตจากอัตราส่วน 9:1 ความชื้น 50 %WME มีความยาวและดัชนีความทนทานต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน (31.50 mm – 40.00 mm และไม่น้อยกว่า 95 %) สาหรับเงื่อนไขที่เหมาะสมในการอัดเม็ดชีวมวลขี้เลื้อยไม้สักของเครื่องอัดเม็ดชีวมวลที่ได้สร้างขึ้นนี้คือ เม็ดชีวมวลที่ผลิตในอัตราส่วน 6:1 ความชื้น 50 %WME โดยมีค่าอัตราการผลิตของเม็ดชีวมวล 2.92 ± 0.23 kg/hr ความหนาแน่นรวมเฉลี่ย 465.71 kg/m3 ความยาวเฉลี่ย 23.17 mm ดัชนีความทนทานเฉลี่ย 96.32 % ปริมาณขี้เถ้าเฉลี่ย 1.80 % และค่าพลังงานความร้อนเฉลี่ย 17.80 MJ/kg ตามลาดับ

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

251 09 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่