ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นข้าวแต๋นทรายอัดแท่งสู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารว่างและการยอมรับของผู้บริโภค


อาจารย์เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์

คณะวิทยาการจัดการ

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

411-58-MGT-NCPO

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวแต๋นทรายแบบอัดแท่งที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ และ (2)เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นทรายอัดแท่ง ในชาวไทยและชาวต่างประเทศภายในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นทรายอัดแท่งของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันทรายหลวง โดยศึกษากับผู้บริโภคชาวไทยที่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่และชาวต่างชาติที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่มากกว่า 30 วันขึ้นไป จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์คุณภาพอายุผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์การอาหาร (Lab-Test) และแบบสอบถามการยอมรับของผู้บริโภค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นทรายในระหว่างการเก็บรักษาผลิตข้าวแต๋นทรายอัดแท่งตามสภาวะที่เหมาะสมตามกระบวนการผลิตของกลุ่มแม่บ้านสันทรายหลวง พบว่าปริมาณความชื้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้าวพอง มาตรฐานเลขที่ มผช. ๗๔๓/๒๕๔๘ ค่าวอเตอร์แอคติวิตี ค่าสี ลักษณะเนื้อสัมผัส พบว่าไม่มีความแตกต่างจากวันที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และคุณภาพทางด้านจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นทราย มี ปริมาณจุลินทรีย์ ยีสต์และรา เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้าวพอง มาตรฐานเลขที่ มผช. ๗๔๓/๒๕๔๘ ระบุ ภายหลังการเก็บรักษาข้าวแต๋นทรายแบบอัดแท่งในถุงพลาสติกชนิด PET/MPET/LLDPE เกินกว่า 21 วัน ผู้บริโภคมีความต้องการต่อผลิตภัณฑ์อาหารว่างประเภทข้าวพองกรอบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.68) มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นทรายอัดแท่ง Crispy Rice Bar ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันทรายหลวง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.4) และผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นทรายอัดแท่ง Crispy Rice Bar ขนาดบรรจุซอง 30 กรัม หากมีการวางจำหน่ายในอนาคต (ร้อยละ 87) คำสำคัญ : ผลิตภัณฑ์อาหารว่างประเภทข้าวพองกรอบ, ความต้องการของผู้บริโภค, ความพึงพอใจของผู้บริโภค

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

962 25 พ.ค. 2561

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทำเนียบรัฐบาล

-

-

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่