
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาศักยภาพผู้ไกล่เกลี่ยงานยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษา ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์จรินทิพย์ ตรัยตรึงตรีคุณ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
421-58-HUSO-NCPO
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ไกล่เกลี่ยงานยุติธรรมชุมชนของศูนย์ยุติธรรมชุมชน ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยอาศัยกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนของกระทรวงยุติธรรม ซึ่ง การไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทหรือจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management) ถือเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญในการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชนให้มีประสิทธิภาพ จากกรอบแนวทางการจัดตั้งและการบริหารศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลได้กำหนดองค์ประกอบของศูนย์ยุติธรรมชุมชน จะต้องประกอบด้วย คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบล 7-8 คน ประกอบด้วย 1. ประธานคณะทำงานด้านอำนวยการในคณะกรรมการหมู่บ้าน 2 คน 2. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหริอสมาชิกสภาเทศบาลที่เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านในตำบลนั้น 2 คน 3. ประธานศูนย์ยุติธรรมชุมชน จำนวน 1 คน 4. ผู้แทนของผู้นำองค์กรหรือกลุ่มอาชีพในตำบล 1 คน 5. ตำรวจชุมชน 1 คน 6. นิติกรหรือเจ้าหน้าที่องค์การส่วนท้องถิ่นที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือนายกเทศมนตรีแล้วแต่กรณีมอบหมาย 1 คน เป็นกรรมการหรือเลขานุการศูนย์ อย่างไรก็ตามในส่วนของผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมระงับข้อพิพาทประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลไม่ได้มีการกำหนดกรอบคุณสมบัติไว้เป็นการเฉพาะในกรอบแนวทางการจัดตั้งและการบริหารศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลแต่อย่างใด จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2457 และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการของหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 ซึ่งได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านสามารถทำการประนอมข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านในคดีแพ่งและคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงได้นำคณะกรรมการหมู่บ้านในตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 คน จาก 9 หมู่บ้าน มาทำการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้ไกล่เกลี่ยประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ได้อาศัยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ กล่าวคือ โดยส่วนหนึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นงานเอกสาร และอีกส่วนหนึ่งได้ใช้การสัมภาษณ์ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทชุมชน รวมถึงผลการทดสอบปฏิบัติการไกล่เกลี่ย การวิจัยครั้งนี้พบว่า ศักยภาพของผู้ไกล่เกลี่ยศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่นั้น ควร ได้รับการพัฒนาศักยภาพของผู้ไกล่เกลี่ยในด้านความรู้ทางกฎหมาย รวมถึงวิธีดำเนินการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาททาง ปฏิบัติเพื่อให้ทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในชุมชน และผลการวิจัยยังพบว่า ศูนย์ยุติธรรมนี้ยังขาดการจัดรูปแบบการบริหารการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ สามารถอำนวยความยุติธรรม โดยเฉพาะการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทให้แก่ประชาชนในชุมชนตามกรอบแนวคิดการ พัฒนาศูนย์ยุติธรรมชุมชนของกระทรวงยุติธรรม
Abstract
This research has objective to development the potential of community justice conciliators in community justice center, Chompoo sub-district, Saraphi district, Chiang Mai by using the shape of developing community justice system from the Ministry of Justice that conciliation or conflict management has held to be the main significant mission to run the process of community justice center to have the quality in practice. By the shape of setting and management community justice center in sub-district has prescribed principle of community justice center, that shall have, the committee of community justice center in sub-district with 7-8 persons, including, 1. The Head of committee as director service duty from the villagers committee with 2 persons, 2. The member of council from Sub-district Administrative Organization or Municipal Council that have the villagers committee with 2 –persons, 3. The Director of Justice with 1 person, 4. The Agent or Leader from organization or the group of profession in sub-district with 1 person, 5. Community Policeman with 1 person, 6. Lawyer or an Official that has ordered from the President of Sub-district Administrative Organization or the President of Municipal Council with 1 person, to be the committee or secretary of the center. However, in part of the conciliators at community justice center in sub-district does not prescribe the specific of qualification on the shape of setting and management community justice center that shall be apply to the principle of Local Administrative act B.E. 2457 and the principle of Ministry Of Interior in practice to conciliation by the village committee B.E. 2530 that prescribed to be a duty of villager committee that can take conciliation that occurs in the village in civil case and minor offense in criminal case. Thus, to bring the villagers committee in Chompoo sub-district, Chiang Mai, with 9 persons from 9 villages for research and development the potential of conciliators in community justice in sub-district Chompoo, Saraphi district, Chiang Mai. In order that, by using quality of research methodology to be a tool for analyzing, in other words, at first part by collecting information as documentary and the other part from interview people, leader of community, community conciliators, included the test from practice conciliation. This research has found that the potential of conciliators of community justice in Chompoo sub-district, Saraphi district, Chiang Mai, should receive the potential of conciliation on knowledge of law included the process of conciliation in practice for duty for serve justice to people in community. And the result also found that the community justice center has lack from the shape of management process for serve justice especially on the conciliation for people in community according to the shape of developing community justice from ministry of justice. Keywords: community justice, conciliator, conflict management, conciliation
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา