
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์โฆษิต ไชยประสิทธิ์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
423-58-HUSO-NCPO
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดเชียงใหม่ผลการศึกษาพบว่าทั้งผู้เสนอโครงการ สมาชิกโครงการ ผู้บริหารโครงการระดับสูง กล่าวถึงปัญหาการจัดการโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดเชียงใหม่ ว่ามีปัญหาสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ปัญหาการเขียนโครงการของบประมาณของสมาชิก เช่นการเขียนโครงการไม่ถูกต้อง ข้อเสนอโครงการมีความซับซ้อนในการกรอกข้อมูล 2) ปัญหาในการสื่อสารข้อมูล และ 3) การจัดสรรงบประมาณกองทุนที่ไม่กระจายอย่างทั่วถึงแก่สมาชิก อนุมัติเงินสนับสนุนน้อยไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานของสมาชิก การอนุมัติโครงการล่าช้า เป็นต้น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาการปฏิบัติการจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีทั้ง 7 ด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มเขตพื้นที่ คือเขตในเมือง เขตในชนบท และ เขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีผลการปฏิบัติงานการจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในด้านต่างๆทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกหัวข้อ ผลการปฏิบัติงานของทั้ง 3 กลุ่มพื้นที่ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50) ยกเว้น ด้านการสื่อสารที่ผลปฏิบัติงานของทั้ง 3 กลุ่มพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50)เมื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของทั้ง 3 กลุ่มในแต่ละด้านพบว่ากลุ่มเขตในเมืองผลการปฏิบัติงานโดยเฉลี่ยที่ส่วนใหญ่อยู่ในลำดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับอีก 2 กลุ่มที่เหลือ โดยอยู่ในลำดับสุดท้ายใน 5 ด้าน คือ ด้านการจัดองค์กร, ด้านการมีส่วนร่วม, ด้านการควบคุมตรวจสอบ, ด้านการบริหาร และ ด้านภาวะผู้นำกลุ่มเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบทผลการปฏิบัติงานโดยเฉลี่ยที่ส่วนใหญ่อยู่ในลำดับที่ 2 เมื่อเทียบกับอีก 2 กลุ่มที่เหลือ ได้แก่ด้านการจัดองค์กร, ด้านการมีส่วนร่วม และ ด้านภาวะผู้นำ ทั้งนี้ มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยสูงสุดในด้านการควบคุมตรวจสอบ และด้านการบริหารกลุ่มเขตชนบท ผลการปฏิบัติงานโดยเฉลี่ยในแต่ละด้านสูงสุดเมื่อเทียบกับอีก 2 กลุ่ม ในด้านการวางแผน, ด้าน การจัดองค์กร, ด้านการมีส่วนร่วม, ด้านการสื่อสาร และด้านภาวะผู้นำ
Abstract
“Factors Affecting of Thai Women Empowerment Funds, Chiang Mai” purpose to study is 1) To study the project management context supported by the Women Empowerment Funds in Chiang Mai. The results showed that both project proponents Project members Senior Project Managers Discusses the problem of project management, women's fund development. Chiang Mai. There are three major issues: 1) The problem of writing a project for a member's budget. For example, writing the project is not accurate. The proposal is complex to fill. 2) Data communication problems; and 3) Unallocated funds allocated to the members. The money was not enough to support the operation of its members. Project approval delays, etc. 2) To study the factors related to project management supported by the Women Empowerment Funds in Chiang Mai. The results of the study on the activities of the seven women's fundraisers were as follows. It is urban, rural and sub-urban. The performance of the fund for the development of women's role development in all aspects was not significantly different at the 0.05 level. In all three groups, the performance of the three groups was the average of the performance. At the high level (mean 3.51 - 4.50), except for communication, the performance of the three groups was moderate (average 2.51 - 3.50). Continue the work of the three groups on each side found. Urban Districts Average performance was mostly in the final order compared to the other two groups. The last of the five categories is organization, participation, control, management and leadership. Semi-urban semi-rural. The average performance was the second highest in the comparison, compared to the other two groups. These include organization, participation and leadership. It has the highest average performance in auditing. And in rural area management, the average performance was highest in each of the two areas, in terms of planning, organization, engagement, communication and leadership.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา