
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การสร้างแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนชนเผ่าลาหู่
อาจารย์ ดร.นัยนา ครุฑเมือง
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
426-58-HUSO-NCPO
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสาหรับชนเผ่าลาหู่ และเพื่อสร้างแบบเรียนสาหรับใช้สอนผู้เรียนชนเผ่าลาหู่ที่มีปัญหาการใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง กลุ่มที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านหนองเขียว และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จานวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการทาวิจัย ได้แก่แบบสารวจปัญหาการออกเสียงภาษาไทยสาหรับชนเผ่าลาหู่ แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสาหรับชนเผ่าลาหู่ และแผนการสอน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้นักเรียนเรียนแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสาหรับชนเผ่าลาหู่ และมีการทดสอบนักเรียนก่อนเรียน และ หลังเรียน หลังจากนั้นผู้วิจัยนาผลคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนจากการทาแบบทดสอบ มาหาประสิทธิภาพของแบบเรียน ผลการศึกษาพบว่า ได้แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสาหรับชนเผ่าลาหู่ และแผนการสอน หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสาหรับชนเผ่าลาหู่แล้ว พบว่าผู้เรียนได้คะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียน 12.95 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ร้อยละ 33.33 อยู่ในระดับอ่อน หลังจากที่เรียนเสร็จแล้ว นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นคือ 15.10 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ร้อยละ 50.00 อยู่ในระดับเก่ง แสดงว่าประสิทธิภาพของแบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสาหรับชนเผ่าลาหู่สอดคล้องตามเกณฑ์คุณภาพแบบเรียน ที่ 12.95/15.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้คือ 12.50/12.50 ส่วนค่าสถิติ t มีค่า -5.090 ค่า Sig. มีค่า .00 ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสาคัญทางสถิติ คือ 0.05 แสดงว่าคะแนนสอบก่อนและหลังเรียนมีความสัมพันธ์กัน และเมื่อนักเรียนได้ทดลองใช้แบบเรียนภาษาไทยเบื้องต้นสาหรับชนเผ่าลาหู่แล้วมีคะแนนหลังสอบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าแบบเรียนมีประสิทธิภาพสามารถนาไปใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยเบื้องต้นให้ผู้เรียนชนเผ่าลาหู่ได้
Abstract
The research aims to develop a basic Thai learning material for Lahu and a teacher handbook for teaching Thai to Lahu students. These teaching materials will be demonstrated to 60 Primary students of Ban Nong Kiew School and Suksa Songkroh School in Chiang Dao District, Chiang Mai Province during the first semester of 2017. Questionnaire has been used as part of a research methodology to survey a difficulty to pronounce Thai for Lahu students, a basic Thai learning material and a teaching plan are another research methods. The researcher has databased of the Pre and Post Test scoring as a means to evaluate the effectiveness of the teaching materials. The study has shown that the Post Test score of the students has been significantly increased. The score is comparable up from 12.95 (Pre-test) to 15.10 (Post-test) out of 20 score respectively. 50 percentage of students are in satisfactory ratio. In term of the statistic ration, the “T” values - 5.090 despite the “Sig.” values at .00 which is significantly lower than the Means (0.05). This has remarkably proved its relevance of the Pre and Post Test results in reflecting to the effective of the teaching materials for Lahu students.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา