
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
กระบวนการสร้างกลไกการใช้ประโยชน์จากสื่อการเรียนรู้ขององค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณชนแห่งประเทศไทย
อาจารย์กิตติชัย ปัญญาวัน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
427-58-HUSO-NCPO
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องกระบวนการสร้างระบบและกลไกการใช้ประโยชน์จากกสื่อการเรียนรู้ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ในการพัฒนา การเรียนการสอนของกลุ่มวิชาทางสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกและวิธีการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยและเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อการเรียนรู้ โดยใช้ลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวิธีการรวบรวมข้อมูลคือ การหาข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดกิจกรรมกลุ่มและการสังเกต ประกอบเข้าด้วยกัน จากการวิจัยพบว่า นโยบายและแนวทางปฏิบัติ วิธีการทำงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ ไทยพีบีเอสและภาควิชาการพัฒนาชุมชนมีความสอดคล้องกันในแง่ของผู้ต้องการให้ กระจายสื่อที่ผลิตให้เกิดคุณค่ากับผู้ต้องการรับ รับสื่อการเรียนรู้ไปเพื่อใช้ประโยชน์ จึงเป็นการปรับยุทธศาสตร์ให้ตรงกันเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าจากสื่อ อันทำให้เกิดการยอมรับและพยายามที่จะสร้างกลไก การเข้าถึงสื่อสาธารณะจากกลุ่มผู้สอนในกลุ่มวิชาทางสังคมศาสตร์ ที่เดิมมีพื้นฐานทัศนคติที่ดีต่อการใช้สื่อจาก ไทยพีบีเอส จึงมีความเชื่อมันในการเลือกใช้ จากนั้นจึงได้คัดสรรสื่อที่จะใช้กับ การเรียนการสอนในรายวิชาที่ผู้สอนแต่ละคนรับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นจากความชัดเจนของวัตถุประสงค์ในรายวิชาต่างๆ ทำความเข้าใจรายละเอียดและวิธีการสอนของแต่รายวิชา ซึ่งผู้สอนสามารถเข้าถึงสื่อได้จากช่องทางเทคโนโลยีใหม่คือ ยูทูบ อันเป็นช่องทางที่สะดวกและ มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงที่สุด โดยเมื่อทำ การใช้สื่อการเรียนรู้ประกอบการสอนแล้ว ผู้เรียนทั้งหมดเกิดความสนใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้เรียนนั้นมีความรู้ในแต่ละประเด็นที่จะทำการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญถึงการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสื่อยังได้ช่วยให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ตามปกติ ผลสะท้อนหลักจากการใช้สื่อเพื่อการพัฒนาคือการทำให้ ผู้เรียนสามารถเข้าใจความคิดรวบยอดจากที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เกิดจินตภาพที่ตรงกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน นอกจากนี้ยังพบว่า สื่อที่ผู้เรียนสนใจจะต้องไม่ยาวมากเกินไป มีภาษาที่สื่อสารทำความเข้าใจได้ง่าย มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและละเอียด อีกทั้งยังต้องการภาพหรือกิจกรรมประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจ อย่างไรก็ดีผู้เรียนอยากให้มีการเพิ่มสื่อการสอนในทุกรายวิชาและให้มีการใช้อย่างต่อเนื่อง
Abstract
This qualitative research on a systematization and mechanism of utilization of Thai Public Broadcasting Service’s learning media aimed to systematize and explore strategies to access learning media of Thai Public Broadcasting Service or Thai PBS as well as to develop learning and teaching Social Sciences subjects conducted by Faculty of Humanities and Social Sciences, Chiang Mai Rajabhat University. Data were collected by collecting secondary data, and by using in-depth interview, focus group discussion, group activities, and observation. According to its results, it was found that policies and procedure of stakeholders, which were Thai PBS and School of Community Development of Chiang Mai Rajabhat University, were consistent. In other words, Thai PBS, as a provider, had an inclination for thoroughly utilizing its media and School of Community Development, as a receiver, was willing to exploit this learning media so that this was an implementation of public media to be worthwhile. This led to acceptance and attempt in order to systemize access to the public media among lecturers of Social Sciences subjects. Initially, these lecturers had possessed positive attitudes towards utilization of Thai Public Broadcasting Service’s learning media. They also had confidence to opt for these media and decided on the media they could apply with the subjects they taught. This selection was focused on explicit objectives and pedagogy of each subjects. The lecturers could access these media via YouTube which was the most accessible and efficient channel. Furthermore, the findings revealed that when the media were applied in the classes, learners were more interested in contents. In the first instance, they had fundamental knowledge in aspects they had to learn, but they did not highlight on analysis and implementation to their daily lives. Then, the media had urged them to realized and notice this. Reflection of the utilization of the media, consequently, led the learners to understanding concepts of the subjects as being concrete. Moreover, the learners and the lecturers had a conjunctive image. Finally, it was found that the learners were interested in the media that were not too long, its language was informative and simple, and its contents were comprehensive and elaborate. Also, illustrations and activities should be added in order to promote the learners’ understanding. However, the learners needed more instruction media or learning media in all subjects and these should be employed continuously.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา