ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชานเมือง : กรณีศึกษา บริเวณโดยรอบถนนวงแหวนรอบกลางเชียงใหม่


อาจารย์วรวิทย์ ศุภวิมุติ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

428-58-HUSO-NCPO

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชานเมืองเชียงใหม่: กรณีศึกษาบริเวณโดยรอบถนนวงแหวนรอบกลางเมืองเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยที่การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ร่วมกับวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจพื้นที่และออกแบบสอบถาม ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ นำมาบูรณาการเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบถนนวงแหวนรอบกลางเมืองเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณโดยรอบถนนวงแหวนรอบกลางเมืองเชียงใหม่ โดยพื้นที่ศึกษาเป็นบริเวณเขตชานเมืองของเชียงใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างเป็นพลวัตน์ โดยมีถนนวงแหวนรอบกลางเมืองเชียงใหม่ หรือทางหลวงชนบท ชม. 3029 (ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี) เป็นหน่วยเชิงพื้นที่ในการศึกษา โดยเป็นถนนที่เชื่อมต่อถนนรัศมีที่มุ่งเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ เชื่อมต่อเมืองเชียงใหม่ทิศต่าง ๆ กับ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นบริเวณที่มีความสะดวกในการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีธุรกิจประเภทต่าง ๆ เข้ามาประกอบกิจการทั้งห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร บ้านจัดสรร อาคารชุด เป็นต้น ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมเดิมได้ถูกเข้ามาแทนที่ด้วยกิจกรรมดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ ผลการศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากการวิเคราะห์ผลการแปลความหมายการใช้ที่ดิน ภาพถ่ายจากดาวเทียม Quickbird ปี พ.ศ. 2552 และ ภาพถ่ายจากดาวเทียม THEOS ปี พ.ศ. 2557 พบว่า พื้นที่ศึกษาซึ่งมีพื้นที่รวม 32,691 ไร่ ในปี 2552 มีพื้นที่เกษตรกรรม 2,446.42 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.48 มีพื้นที่เมือง 13,418.25 ไร่ และเป็นพื้นที่อื่นๆ 16,827.02 ไร่ ส่วนปี พ.ศ.2557 มีพื้นที่เกษตรกรรม 2,087.20 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.38 พื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง 15,533.19 ไร่ และพื้นที่อื่น ๆ 15,071.46 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกัน พบว่าพื้นที่เกษตรกรรมลดลง 359.22 ไร่ ซึ่งลงลงคิดเป็นร้อยละ 14.68 หรือลงลงร้อยละ 2.94 ต่อปี ในขณะที่พื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น 2,114.94 ไร่ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 15.75 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.15 ต่อปี เมื่อนำข้อมูลทั้ง 2 ช่วงเวลามาซ้อนทับกันในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า มีพื้นที่เกษตรกรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างทั้งสิ้น 315.96 ไร่ พื้นที่เกษตรกรรมที่สูญเสียไปดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับถนนสายหลัก และเมื่อจำแนกพื้นที่เกษตรกรรมที่สูญเสียตามระยะห่างจากถนนวงแหวนรอบกลาง พบว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในรัศมีห่างจากถนนวงแหวนรอบกลางอยู่ในช่วง 250-750 เมตร ในส่วนของเมืองและสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น จะกระจายอยู่มากในบริเวณที่อยู่ติดกับถนนวงแหวนรอบกลาง บริเวณที่ติดกับถนนรัศมีเส้นทางต่าง ๆ และ บริเวณที่เป็นจุดตัดของถนน ทั้งนี้ในพื้นที่ศึกษามีจำนวนโครงการบ้านจัดสรรทั้งสิ้น 205 โครงการ และ มีธุรกิจร้านอาหารตั้งอยู่ทั้งสิ้น 604 ร้าน การสำรวจพื้นที่เกษตรกรรมในบริเวณโดยรอบถนนวงแหวนรอบกลาง พบว่ามีการทำนา ทำสวน และการทำไร่นาสวนผสม พืชที่พบปลูกมาก ประกอบไปด้วย ข้าวเหนียว พืชผักสวนครัว กล้วย ไม้ดอกไม้ประดับ มะนาว ลำไย เป็นต้น จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามเกษตรกรที่ยังคงทำการเกษตร จำนวน 36 ราย ซึ่งเป็นเพศชาย 25 ราย และเพศหญิง 11 ราย มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 58 ปี และมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ยรายละ 5.81 ไร่ ส่วนใหญ่ทำการเกษตรในรูปแบบเชิงเดี่ยวร้อยละ 58.3 และทำการเกษตรแบบผสมคิดเป็นร้อยละ 41.7 แหล่งน้ำหลักที่ใช้ ได้แก่ น้ำบาดาล คลองชลประทาน ลำเหมือง แม่น้ำปิง และแม่น้ำคาว ต้นทุนการผลิตต่อปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 24,361 บาท ต่อ ปี มีรายได้รวมเฉลี่ย 91,361 บาทต่อปี เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์และการรับรู้เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินและการเลิกทำการเกษตร พบว่า มีเกษตรกร 14 ราย ที่เคยมีผู้มาติดต่อขอซื้อที่ดิน โดยมี 6 รายเคยขายที่ดินให้ผู้อื่น และมี 13 ราย ที่มีญาติหรือเพื่อนบ้านที่เลิกทำการเกษตร และเมื่อสอบถึงการมีลูกหลานที่จะดำเนินการเกษตรในอนาคต พบว่า เกษตรกรถึงร้อยละ 77.8 ไม่มีลูกหลานที่จะมาดำเนินการเกษตรต่อ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการคงอยู่ของพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนประเด็นปัญหาที่เกษตรกรพบ ส่วนใหญ่ ได้แก่ ปัญหาด้านราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง และปัญหาการขาดแคลนน้ำ จากผลการวิจัยดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานด้านการส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานด้านการจัดสรรน้ำ และหน่วยงานที่เป็นองค์กรส่วนท้องถิ่น ควรมีการดำเนินการและกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่ชานเมือง เช่น การจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึง การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์เกษตรกรรมที่มีศักยภาพเหมาะสม การส่งเสริมด้านการตลาด และการสร้างความตระหนักด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรเห็นคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่สำคัญของเขตชานเมือง

Abstract

The research of agricultural land losses in the suburban: a case of surrounded area of Chiang Mai middle ring road is a research that uses geo-information technologies by using satellite imagery and geographic information systems integrated with qualitative technique, area survey and collecting questionnaires. The data were analyzed spatial changes integrally. The research has two objectives: 1) to study the patterns of land use change around the Chiang Mai middle ring road and 2) to study the losses of agricultural land around the Chiang Mai middle ring road. The study area is suburban of Chiang Mai where has been changing of the land use dynamically. The Chiang Mai middle ring road, the rural road no. 3029 (Sompoch Chiang Mai Jed Roi Pi Road) is a spatial unit of the study. The road connects the radial roads through the city of Chiang Mai and connects surrounded area with the Chiang Mai government center. The area around the road is easy to access. There are various types of business be located in the area including shopping malls, restaurants, housing development, condominiums, etc. While the agricultural land has been replaced by such activities increasingly. The study result of land use change based on analysis of the land use interpreted from Quickbird Satellite imageries in 2009 and THEOS satellite imageries in 2014 showed that the whole area, 32,691 rai consisted of the agricultural land of 2,446.42 rai (7.48%), the urban area of 13,418.25 rai and the other areas of 16,827.02 rai in 2009. Then in 2014, there are 2,087.20 rai of agricultural land (6.38%), 15,533.19 rai of urban area and 15,071.46 rai of the other areas. The agricultural area decreased by 359.22 rai, 14.68% or 2.94% per year while the urban area and buildings increased by 2,114.94 rai, 15.75% or 3.15% per year. Using GIS for overlaying the two period of land use data found that the former agricultural land of 315.96 rai have been changed into the urban areas. Most of the lost area were near to the main road. When classified the agricultural land lost area with the distance from the middle ring road, found that most of the lost land were in 250-750 meters from the ring road. Most of the expanded urban were likely to close to the middle ring road, radial road and around the intersection. There are 205 housing developments and 604 restaurants in the study area. According form the surveying of agricultural land in the study area found that there were various type of faming including paddy rice farming, perennial crop farming and mixed farming. The plants were found consisting of sticky rice, vegetable, banana, flower and ornamental tree, lemon tree, longan tree, and so on. The questionnaire survey consisted of 36 farmers, 25 males and 11 females with have an average age of 58 years and have the average land area of 5.81 rai. Most of the farmer (58.3%) was monoculture farmer and 41.7% was mixed cropping farmer. The source of water are groundwater, canal, traditional irrigation ditch, Ping River and Khao River. Average cost of production was 24,361 baht per year and the average income was 91,361 baht per year. When asked about the experience and perception of land selling and land abandonment, 14farmers had been contacted to buy their land, 6 farmers had sold the land, and 13 farmers had relatives or neighbors who quit farming. The result also found that 77.8 percent of the farmers don’t have child to inherit their faming so this is a very important issue for preserving the agricultural land in the area. The major problems for the farmers were low product price, high production cost and water shortages. According to the findings, related organization including agricultural extension organization, water allocation agency and local authorities should define the policy and take action to support and encourage farmers in suburban areas such as water allocation equally, designation of potential agricultural land preservation, marketing promoting and arrangement the activities to create the awareness of farmers to appreciate the value of their farm lands.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

526 26 มี.ค. 2561

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทำเนียบรัฐบาล

-

-

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่