ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ปิยวดี นิลสนธิ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

430-58-HUSO-NCPO

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้(1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผล ต่อการเกิดแผ่นดินไหว ในพื้นที่เทศบาลตา บลแม่ริม อา เภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษา ระดับของการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อการเกิดแผ่นดินไหว พบว่ารอยเลื่อนที่ส่งผลให้เกิด จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว คือ รอยเลื่อนแม่ทาและรอยเลื่อนดอยปุย จัดเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง รอย เลื่อนดังกล่าวสามารถส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นขนาดความรุนแรง 5.0-5.9 ริกเตอร์ การศึกษา ระดับของการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมพร้อมรับมือ กับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรเป้าหมายในพื้นที่เทศบาลตา บลแม่ริม จา นวน 391 คน และจากผู้นา ชุมชน จา นวน 12 คน การสัมภาษณ์ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานของเทศบาลตา บลแม่ริม จา นวน 10 คน ข้อมูลที่ ได้นามาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาโดยการพรรณนา ผลการศึกษาระดับของการเตรียมความพร้อมรับมือกับ ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตา บลแม่ริม อา เภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ระดับการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง ประชากรส่วนใหญ่อาศัย อยู่ในพื้นที่เทศบาลตา บลสันกา แพงมากกว่า 30 ปี แต่ไม่ทราบว่าในพื้นที่ มีความเสี่ยงภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว และเคยมีประสบการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่แต่ไม่ได้รับ ผลกระทบ ไม่เคยฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ของประชาชน พบว่าปัจจัยด้านทัศนคติเป็นเรื่องที่ประชาชน ผู้นาชุมชน และเจ้าหน้าที่ให้ ความสาคัญมากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านจิตสานึก ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านการมี ส่วนร่วมเป็นอันดับสุดท้าย

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

294 29 มี.ค. 2561

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทำเนียบรัฐบาล

-

-

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่