ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การเสริมสร้างพลังอำนาจชมรมผู้สูงอายุเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์มุจลินท์ แปงศิริ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

437-58-SCI-NCPO

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจในการส่งเสริมสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุ ตำบลสะลวงอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การค้นพบสภาพการณ์จริง การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมและลงมือปฏิบัติและ การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ประชากรในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุตำบลสะลวงอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 585 คน กลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลสะลวง จำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ด้านบริบทชุมชน ประกอบด้วย ประวัติชุมชนและการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในกระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจผู้สูงอายุ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีการนับถือตนเองและเชื่อมั่นในตนเอง ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดพลังอำนาจในการดูแลสุขภาพตนเองจากการมองภาพของเป้าหมายที่ต้องการ การวิเคราะห์ศักยภาพของผู้สูงอายุมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้ผู้วิจัยรู้จุดแข็งจุดอ่อนของผู้สูงอายุ ความเป็นธรรมชาติของชุมชนที่ศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจให้เกิดผลดีได้ ดังนั้น การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่ผู้สูงอายุให้กระทำ จะเห็นได้จากผู้นำจะคอยช่วยประชาสัมพันธ์งานได้อย่างดี เกิดชมรมผู้สูงอายุในชุมชนที่เป็นรูปธรรม ซึ่งภายหลังการดำเนินงาน พบว่า ผู้สูงอายุมีการรับรู้การส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

Abstract

This study was an action research for empowerment of health promotion for the elderly club in Saluang sub- district ,Maerim district, Chiang Mai province by the empowerment process and applied 4 stages including building discovering reality, critical reflection, taking charge and holding on. The amount of people in this research in the elderly club in Saluang sub- district ,Maerim district, Chiang Mai province were 585. Some of this people attended empowerment of health promotion for the elderly.The people residence in the elderly club in Saluang sub- district amounted to just 238. The lools that were used in the saving collection and storage of data,an assortment the community, community history and model to interview,a tool that used in data saving in the empowerment process, model to record the observation, model to interview .The statistics that were used in the data analysis for example, the percentage, the mean, the standard deviation (S.D.) , and test the value T (t-test). Results of the study were as follows : The empowerment of elderly could to help seniors in the community for self-esteem and self-confidence. The seniors took power in health care from their own vision of the desired goal. The analysis of the potential of the elderly was very important because researchers know the strengths and weaknesses of the elderly. The nature of the educational community which will lead to the creation of power. The empowerment of self care of the elderly contributed to the involvement of the community in supporting the activities of the elderly to act. It could be seen from the leading will promote job very well and the elderly community in concrete.,after the operation found that older people were perceived to promote increased participation in the process of empowerment by statistically significant level. 01.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

1143 03 ก.พ. 2560

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทำเนียบรัฐบาล

-

-

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่