
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบการในหมู่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.ดุษฎี รังษีชัชวาล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
442-58-HUSO-NCPO
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบการในหมู่บ้านถวาย 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบการในหมู่บ้านถวาย และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ประกอบการในหมู่บ้านถวายที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการในศูนย์หัตถกรรมบ้านถวายและร้านค้าบริเวณสองฝั่งคลอง หมู่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มแรกจำนวน 80 คน ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มตัวอย่างชุดนี้ใช้เพื่อศึกษาสภาพและความคาดหวังการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ประกอบการและ ผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่ง จำนวน 40 คน ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มตัวอย่างชุดนี้สมัครใจเข้าร่วมโครงการทดลองเรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบการที่อยู่ในรูปแบบของคู่มือการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยตนเองของผู้ประกอบการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบการดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของชาวต่างชาติที่มีต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบการ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 4) คู่มือการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยตนเองของผู้ประกอบการ ผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อคู่มือ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยตนเองของผู้ประกอบการด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ด้านลักษณะรูปเล่มอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อด้านการจัดภาพประกอบ และด้านการใช้ข้อความตัวอักษรในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were to investigate entrepreneurs’ conditions and expectations of their communicative English skills, to develop the self-directed learning model to enhance entrepreneurs’ communicative English skills, and to study satisfaction of entrepreneurs toward the self-directed learning model. The sample of this study consisted of two groups. The first group was 80 participants investigated for their conditions and expectations of communicative English skills. The second group was 40 participants voluntarily participating in using the English communication handbook to develop communicative English skills for eight weeks. Then, their satisfactions were evaluated. The instruments used for data collection were the questionnaire about enterpreneurs’ communicative English skills, the questionnaire about foreigners’ opinions towards communicative skills of enterpreneurs in Tawai Village, and English communication handbook. The findings indicated that satisfaction of the entrepreneurs toward the English communication handbook was at the highest level in terms of the content, details, and appearance, and at the high level in terms of illustration, language and text.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา