ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การแปรคำศัพท์ภาษาไทขึนของบุคคล 3 ระดับอายุ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์กฤษณา สมบัติ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

443-58-HUSO-NCPO

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรคำศัพท์ และเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ภาษาไทขึนของผู้พูดแต่ละระดับอายุ ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน จากผลการวิจัยพบว่า ด้านการแปรคำศัพท์ภาษาไทขึนซึ่งเทียบจากคำศัพท์ดั้งเดิมเป็นหลักของผู้พูดทั้งสามระดับอายุมี 3 ด้าน คือ การแปรเสียง มีลักษณะการแปรเสียงสระ เสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์ การละบางพยางค์ การเพิ่มบางพยางค์ และการสลับตำแหน่งคำโดยความหมายของคำศัพท์ยังคงเดิม การแปรศัพท์ มีลักษณะการกลายคำ คำยืมจากภาษาถิ่นเหนือและถิ่นมาตรฐาน รวมถึงมีการสร้างคำใหม่จากคำศัพท์ภาษาไทขึน และคำที่มาจากภาษาถิ่นอื่น ส่วนการแปรความหมาย มีการแปรความหมายย้ายที่มากกว่าการแปรความหมายกว้างออกและ การแปรความหมายแคบเข้า ด้านการเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ในหมวดคำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ และคำ สรรพนาม พบว่า การเปรียบเทียบลักษณะการใช้คำศัพท์ภาษาไทขึน มี 7 ลักษณะคือ (1) คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะผู้พูดภาษาไทขึนระดับอายุที่ 1 (2) คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะผู้พูดภาษาไทขึนระดับอายุที่ 2 (3) คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะผู้พูดภาษาไทขึนระดับอายุที่ 3 (4) คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะผู้พูดภาษาไทขึนระดับอายุที่ 1 กับ 2 (5) คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะผู้พูดภาษาไทขึนระดับอายุที่ 1 กับ 3 (6) คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะ ผู้พูดภาษาไทขึนระดับอายุที่ 2 กับ 3 และ(7) คำศัพท์ที่ผู้พูดภาษาไทขึนระดับอายุที่ 1 2 และ 3 ใช้เหมือนกัน และพบว่าเป็นลักษณะการใช้คำศัพท์ที่พบมากที่สุด ส่วนการเปรียบเทียบรูปแบบการใช้คำศัพท์ภาษาไทขึน พบว่า มีรูปแบบการใช้คำศัพท์ 6 รูปแบบ (1) คำศัพท์ดั้งเดิม (2) คำกลาย (3) คำยืม (4) คำสร้างใหม่ (5) คำอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบที่ 1-4 และ (6) การใช้รูปแบบคำที่ 1-5 ร่วมกัน และพบว่ารูปแบบที่มีการใช้มากที่สุดในทุกหมวดคำคือ รูปแบบการใช้คำกลาย

Abstract

This study aims at analyzing and comparing lexical variation of Tai Khun spoken in Amphoe Sun Pa Tong, Changwat Chiang Mai, by age-group. The results show that the lexical variation in Tai Khun by three age-groups were divided into 3 typs – Sound variation (vowel variation, consonant variation, tonal variation, syllable deletion, syllable addition and change of position of word), Lexical variation (sound change, Northern dialect and Standard Thai loanwords and lexical innovation from Tai Khun lexical and other dialect words), Semantic variation shows that overall the Khun speakers use the transference of meaning more than widening and narrowing meaning. Comparing lexical items of noun, verb, adverb and pronoun indicate 7 types – (1) the lexical spoken by the 1st age-group. (2) the lexical spoken by the 2nd age-group. (3) the lexical spoken by the 3rd age-group. (4) the lexical spoken by the 1st-2nd age-groups. (5) the lexical spoken by the 1st-3rd age-groups. (6) the lexical spoken by the 2nd-3rd age-groups. And (7) the lexical spoken by overall age-groups that uses the same lexical items most. Comparing the forms of lexical items indicate 6 types – (1) traditional words (2) sound change (3) loanword (4) lexical innovation (5) other words from (1)-(4) and (6) mixes of (1)-(5). Finally, it shown in this study that sound change occurs the most.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

951 16 พ.ย. 2560

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทำเนียบรัฐบาล

-

-

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่