ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจษฎาพล กิตติพัฒนวิทย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

445-58-SCI-NCPO

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2)เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3)เพื่อประเมินความคิดเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ออกแบบและพัฒนาเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนต่อไป โดยศึกษาความต้องการจาก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน/กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภท ผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 100 คน สอบถามให้ได้มาซึ่งเอกลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อได้ข้อมูลเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ประเภท ผ้า ที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภค(ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์) แล้วประเมินรูปแบบโดย ผู้เชียวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากนั้นสร้างต้นแบบและประเมินวัดผลระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ผ้า ที่ได้รับการออกแบบพัฒนาแล้วผลการวิจัยพบว่า 1)ภูมิปัญญาของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความถนัดทางด้ายผ้าทอและการปักเย็บส่วนใหญ่ มาจากการสืบทอดภูมิปัญญา การคิดค้นลวดลาย การใช้วัสดุ เทคนิคขั้นตอนต่างจากบรรพบุรุษของชุมชน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 7 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการทำต้นแบบ โดยได้ประเมินจากแบบสอบถาม ข้อมูลจากแบบสอบถามผู้บริโภค (ก่อนการทำการออกแบบ) พบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดย วิธีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากที่ทางกลุ่มจะทอผ้า แบบเดิมๆหรืออาจจะมีการทำประเภทเสื้อของชนเผ่า กระเป๋าที่รูปแบบมีมากในตลาดแล้ว จึงทำให้เกิดภาวการณ์ขายไม่ได้ ราคามีราคาที่สูง จึงทำให้การตลาดไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ชุดกระเหรี่ยงมีราคาสูง 2)ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาพัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ พบว่าผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์ในรูปแบบกระเป๋ามาพัฒนาเป็นจากผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากที่สุด รองลงมาคือหมอนรองคอและรองเท้า 3)ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ พบว่าผู้บริโภคเห็นด้วยกับการนำผลิตภัณฑ์ผ้าทอมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์การใช้งานได้หลายด้านในผลิตภัณฑ์เดียวอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความคิดเห็นของผู้เชียวชาญที่มีต่อการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้า จ.แม่ฮ่องสอนทั้งหมดโดยภาพรวม ความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ผลิตภัณฑ์มีหน้าที่ใช้สอยมากขึ้น อยู่ในระดับ มากที่สุด5)การวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ด้านความสวยงามรูปทรงและรายละเอียดสามารถแสดงออกถึงความทันสมัยอยู่ในระดับ มากที่สุดข้อเสนอของการวิจัย ได้แก่ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทางด้านการพัฒนารูปแบบร่วมไปถึงการพัฒนาความรู้ด้านฝีมืออยู่ตลอดเวลาต่อเนื่องทุกปีเนื่องจากผลิตภัณฑ์ต้องมีการพัฒนาตามวิวัฒนาการของชุมชนเมืองหลวงและเศรษฐกิจต่อไป

Abstract

The study on the development of local products and handicrafts sector boards, Mae Hong Son provincehas the following objectives:1) To explore the products of local handicraft products of fabric in theMae Hong Son province. 2) To design and develop products for the local handicraft sector boards in theMae Hong Son province. 3) To evaluate the product on the local handicraft products of fabric in the Mae Hong Son province. 4) To design and develop a prototype for the development community. The Sample included individuals / groups who produce fabric. 100 people were interviewed to derive the identity of Mae Hong Son for obtaining a unique caption of the product development. Obtaining the consumers' needs (before development) was estimated by the model. Three experts in the design were composed to assess the suitability of the model in the development of the products from the fabric in theMae Hong Son province. From there, prototyping and evaluation were conducted to measure the level of consumer textiles for the design and development.The research found that 1) The Wisdom of Mae Hong Son has an aptitude thread woven and embroidered a stitching majority. Wisdom wasthe invention of the patterned material technical steps of the ancestors of the community. The purpose of the research is to develop all seven community enterprise. An assessment was made from the questionnaire survey data from the consumers inMae Hong Son Province(Pre-designed). The inquiries were based on the development of craft fabrics asking: “How was the product developed? How does it change the way the group is weaving? What is considered traditional or might be made out of jersey tribes? What are the styles of bag available in the market?” Based on the results the items did not sell very well. The prices were set too high by the Karen. As a result, the market is not good enough for selling these products.2) The consumers’ feedback on the product from the Mae Hong Son boards were utilized to develop the process in different ways. It was found that the consumers were mostlydemanding the products in the form of a cloth bag, as well as pillows and shoes. 3) Comments were made on the product development side, local products, handicrafts, and fabric types. The Mae Hong Son province will develop a new product. The study found that consumers with the products imported textile products that were mostlydeveloped. Consumers want products that are useful for multiple applications in a single product at the most.4) Opinion of experts were based on the evaluation ofform textilesin Mae Hong Son overall. Appropriate utilization were from the products that were more highly usable.5) Analysis were on the development of local products and handicrafts sector boards in the Mae Hong Son province.The aesthetic form and details can express the most advanced levels.The research proposes a promotion of a “Community Enterprise Group Development Patterns” to constantly craft the knowledge development every year because the product must be developed according to the evolution of the community’s capital and economy.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

512 21 ก.ย. 2561

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทำเนียบรัฐบาล

-

-

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่