
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาและพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ระลึกโดยการประยุกต์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อาจารย์ขวัญชัย เชื้อเมืองพาน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
446-58-SCI-NCPO
บทคัดย่อ
การศึกษาและพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ระลึกโดยการประยุกต์ เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ระลึก จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ระลึกโดยการประยุกต์ เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นที่มีต่อบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ระลึก จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ออกแบบและพัฒนาเป็นต้นแบบในการสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน/กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภท ของที่ระลึก จังหวัดแม่ฮ่องสอน 50 คน สอบถามให้ได้มาซึ่งเอกลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อได้ข้อมูลเอกลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จังหวัดแม่ฮ่องสอน สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภค(ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์) แล้วประเมินรูปแบบโดย ผู้เชียวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากนั้นสร้างต้นแบบและประเมินวัดผลระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับการออกแบบพัฒนาแล้ว ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความถนัดทางด้านการออกแบบลวดลายผ้าทอและการปักเย็บ ส่วนใหญ่มาจากการสืบทอดภูมิปัญญาการคิดค้นลวดลายในรูปแบบต่างๆ การใช้วัสดุ เทคนิคขั้นตอนต่างจากบรรพบุรุษของชุมชน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 17 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการทำต้นแบบ โดยได้ประเมินจากแบบสอบถาม ข้อมูลจากแบบสอบถามผู้บริโภค (ก่อนการทำการออกแบบ) พบว่าการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ระลึกโดยการประยุกต์ เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้วิธีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดย วิธีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากที่ทางกลุ่มใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิมๆ ที่เคยใช้นั้นไม่ได้ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นน่าซื้อ อีกทั้งบางผลิตภัณฑ์นั้นยังไม่มีบรรจุภัณฑ์เลย จึงทำให้เกิดภาวการณ์ขายไม่ได้ จึงทำให้การตลาดไม่ค่อยดีเท่าที่ควร 2)ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์เดิมของผู้ผลิตสินค้าที่ระลึกจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าในความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์เดิมของกลุ่มผลิตภัณฑ์เดิมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย 3)ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สำหรับสินค้าที่ระลึกโดยการประยุกต์ เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ พบว่าในความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกโดยการประยุกต์ เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความคิดเห็นของผู้เชียวชาญที่มีต่อการประเมินรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งหมดโดยภาพรวม ความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ผลิตภัณฑ์มีหน้าที่ใช้สอยมากขึ้น อยู่ในระดับ มากที่สุด 5)การวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกโดยการประยุกต์ เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ด้านการนำเสนอบรรจุภัณฑ์มีลักษณะที่สะอาดปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอของการวิจัย ได้แก่ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทางด้านการพัฒนารูปแบบ บรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงการพัฒนาความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์ ตลอดเวลาต่อเนื่องทุกปีเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ ภัณฑ์ต้องมีการพัฒนาตามวิวัฒนาการของสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนเมืองหลวง และเศรษฐกิจต่อไป
Abstract
The Study and Development of Packaging Prototype for Souvenir Goods with the Application of Mae-Hong son’s Uniqueness and Local Wisdom the following objectives: 1) To explore the package of souvenir in the Mae Hong Son province 2) To design and develop the package of souvenir in the Mae Hong Son province by adopting uniqueness and wisdom of Mae Hong Son province 3) To evaluate the opinion toward the package of souvenir in the Mae Hong Son province which design and develop to be a model of strong community. The Sample included individuals / groups who produce souvenir. 50 people interviewed to derive the identity of Mae Hong Son for obtaining a unique caption of the package development. Obtaining the consumers' needs (before development) was estimated by the model. Three experts in the design product were composed to assess the suitability of the model in the packaging design. From there, prototyping and evaluation were conducted to measure the level of consumers’opinions toward developed package. The research found that 1) 1) The Wisdom of Mae Hong Son has an aptitude thread woven and embroidered a stitching majority Wisdom wasthe invention of the patterned material technical steps of the ancestors of the community. The purpose of the research is to develop all seventeen community enterprise. An assessment was made from the questionnaire survey data from the consumers in Mae Hong Son Province (Pre-designed). It found that the packaging development of souvenir by adopting uniqueness and wisdom of Mae Hong Son province develope the package by adopting the former package which is not attractive customers to purchase. Moreover, some products do not have their own packages, leading to cannot sell the products and the market is not good enough.2) The customers’ opinions toward the former package of souvenir in Mae Hong Son province show that the level of customers’ satisfaction is low. 3) The opinion toward packaging development of souvenir by adopting uniqueness and wisdom of Mae Hong Son province to develop the new product found that the customers’ opinions toward these, the level of customers’ satisfaction is very good. 4) Opinion of experts were based on the evaluation of new souvenir package in Mae Hong Son province,overview overall. Appropriate utilization were from the products that were more highly usable.5)Analysis of opinion toward development of souvenir’package in the Mae Hong Son province by adopting uniqueness and local wisdom. It show that safe and clean package is very good. The research proposes a promotion of a “Community Enterprise Group Development Patterns” to constantly packaging knowledge development every year because the package must be developed according to the evolution of the community’s capital and economy.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา