
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การเสริมสร้างภาวะผู้นำนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุพร เสถียรคง
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
447-58-HUSO-NCPO
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การเสริมสร้างภาวะผู้นำให้กับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ การจัดการความขัดแย้งขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ถูกร้องเรียน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มากำหนดรูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed research ) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) คือการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประกอบเข้าด้วยกัน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับรางวัลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีข้อร้องเรียน มีลักษณะที่คล้ายกันคือ มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ รู้จักพื้นที่ รู้ปัญหาที่แท้จริงและเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี และจบการศึกษาทางด้าน รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ การพัฒนาชุมชน ส่วนข้อมูลด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบไปด้วยคุณลักษณะภาวะผู้นำที่เหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถในการสื่อสาร คุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการสร้างทีมงานความสามารถการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีทักษะด้านการจัดการความขัดแย้งตลอดถึงมีการนำกลยุทธ์ในการบริหารมาปรับใช้ในองค์กรอย่างเหมาะสม ด้านการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีข้อร้องเรียนหรือมีข้อขัดแย้งนั้น พบว่าใช้วิธีการแก้ไขปัญหาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน แก้ปัญหาให้ตรงจุด ปัญหาไหนที่พบบ่อยจะต้องรีบแก้ไข เมื่อชาวบ้านเดือดร้อนต้องรีบให้ความช่วยเหลือในทันที ชี้แจงทำความเข้าใจมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลอย่างสม่ำเสมอ ใช้ความยืดหยุ่นเข้าหากัน และสร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณในครั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจากองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งที่ได้รับรางวัลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีข้อขัดแย้งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความคิดเห็นต่อทุกคำถามค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างมาก
Abstract
The qualitative research interview showed that Chief Executive of the SAO in Chiang Mai not only from the awarded ones but also complained ones shared the common traits. These are :live in and know the area of their work place, know what problems are and understand way of lives of people in the Subdistrict . Also the Chief Executive of the SAO in Chiang Mai must graduate in Public Administration or Community Development.Data of Leadership characters showed that Chief Executive of the SAO in Chiang Mai have good leaderships, good interactions, communicative ability and moral and ethics. They also have the ability to organise working team, to implement government policies, to manage the conflicts, and to apply the managing strategies to their organizations properly The analysis of findings about how the Chief Executive of the SAO solve the conflicts showed that they focused on people participating in conflict management. Moreover, they aimed to solved directly to the problems and frequent issues relevant to people were received attentions instantly. The Chief Executive of the SAO also make relationships to people in their areas by employing strategies such as public relations, flexibility, and trustworthy working atmosphere. Quantitative data of this research showed that both groups of the Chief Executive of the SAO in Chiang Mai have the average mean on all perspectives.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา