ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษาคัมภีร์อานิสงส์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท: ไทยวน ไทลื้อ ไทขึน และลาว


อาจารย์ดลยา แก้วคำแสน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

448-58-HUSO-NCPO

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาคัมภีร์อานิสงส์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท : ไทยวน ไทลื้อ ไทขึน และลาว” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาคัมภีร์อานิสงส์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท กลุ่มไทยวน ไทลื้อ ไทขึน และลาว และวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของคัมภีร์อานิสงส์ที่มีต่อสังคม โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกคัมภีร์อานิสงส์ที่มีความสมบูรณ์ด้านเนื้อหาและต้นฉบับเพื่อใช้เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ผลการศึกษาด้านรูปแบบคาประพันธ์ พบ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบร้อยแก้ว และรูปแบบนิสสัย คือ การยกศัพท์บาลีขึ้นตั้งแล้วแปลเป็นภาษาถิ่นแบบศัพท์ต่อศัพท์จนจบเรื่อง ส่วนรูปแบบการนาเสนอด้านเนื้อหาประกอบด้วย 1) บทเกริ่นนาหรือบทปณามพจน์มี 2 รูปแบบคือ แบบย่อ “นโม ตสฺสตฺถุฯ” และแบบเต็มรูป "นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” 2) ตอนนาเรื่อง พบ 3 ลักษณะ คือ นาเรื่องด้วยพระพุทธเจ้าหรือพุทธสาวกเป็นผู้เล่าเรื่องเอง นาเรื่องด้วยคาถาม และนาเรื่องด้วยการเล่าในรูปแบบนิทานหรือชาดก 3) ส่วนอธิบายความหรือการดาเนินเรื่อง พบกลวิธีที่ใช้อยู่ 3 ลักษณะ คือ กลวิธีการถาม-ตอบของเหล่าพุทธสาวกกับพระพุทธองค์ กลวิธีการเปรียบเทียบผลอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ที่หาสิ่งใดเปรียบไม่ได้ และการยกนิทานธรรมหรือนิทานชาดกมาเล่าประกอบ และ 4) การจบเรื่องคัมภีร์อานิสงส์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไททั้งสี่กลุ่มชาติพันธุ์มีลักษณะการอธิบายให้เห็นถึงผลของอานิสงส์หรือผลที่ได้รับจากการประกอบกรรมดี และการบรรลุธรรมของพุทธบริษัททั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผลการศึกษาด้านเนื้อหา ประกอบด้วย แก่นเรื่อง คือ ต้องการชี้นาหรือต้องการโน้มน้าวจิตใจพุทธศาสนิกชนให้หันมาประกอบกุศลกรรมอันเป็นการเอื้อในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป โดยมีเนื้อหาหลักกล่าวถึงผลที่จะได้รับจากการประกอบกุศลกรรมทั้งทางกายและทางจิตใจในโลกนี้และโลกหน้า และเนื้อหารองที่ช่วยเสริมให้เนื้อหาหลักมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นคือ การยกเรื่องราวในอดีตชาติ หรือนิทานชาดกมาประกอบการอธิบาย ผลการศึกษาด้านบทบาทหน้าที่ของคัมภีร์อานิสงส์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท พบว่า คัมภีร์อานิสงส์มีบทบาทหน้าที่สาคัญ ดังนี้ 1) บทบาทหน้าที่ในการโน้มน้าวให้ประกอบกรรมดี 2) บทบาทหน้าที่ในการสร้างความเพลิดเพลินและจรรโลงใจ 3) บทบาทในการอธิบายที่มาของความเชื่อและเหตุผลในการประกอบพิธีกรรม และ 4) บทบาทในการสืบทอดพุทธศาสนา

Abstract

The study entitled “An Analytical Study of Tai Ethnic group’s Anisong Scripture: Tai Yaun, Tai Lue, Tai Khoen, and Lao”had objectives to study the form and content of Anisong’s scripture belonging to Ethnic groups that were Tai Yaun, Tai Lue, Tai Khoen, and Lao and analyzed roles and duties of Anisong Scripture onto society. The Anisong scripture were selected by the complete of content and manuscript for using as a representation of each ethnic group. The form of scripture found 2 styles that were prose and Nissai or a form that Pali words came first then were translated into dialect word by word until ending. The form of content presenting consisted of 1) invocation having 2 styles, brief and full versions 2) introduction found 3 styles that were Buddha or follower was a narrator, starting with question, and starting with tale or Jataka. 3) Description or development of story found 3 styles that were question-answer technique between follower and Buddha, Anisong’s result was enormous than anything to compare and Dharma tale or Jataka used as allegory and 4) ending of Anisong’s scripture of 4 ethnic groups described the result of Anisong or goodness and the enlightenment of 4 groups of Buddhist, monk, nun, layman, and laywoman. The finding of content consisted of theme, pointed and persuaded Buddhist to do good things for inheriting Buddhism both physical and mental in this and next life and the sub content supported the main content to be more complete by citation to previous existence or Jataka to describe. The study of roles and duties of Anisong scripture in Tai ethic group found that it had the important roles that were 1) roles and duties of persuasion of doing goodness 2) roles and duties of entertainment 3) roles and duties of describing origin of beliefs and reasons of rites and 4) roles and duties of Buddhist inheriting.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

353 30 พ.ค. 2561

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ทำเนียบรัฐบาล

-

-

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่