ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


อาจารย์ปภัส ฉัตรยาลักษณ์

คณะครุศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

454-58-EDU-NRCT

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาหรับนักศึกษา กลุ่มประชากรได้แก่ อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา 12 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสภาพปัจจุบันในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันในภาควิชาจิตวิทยามีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญอยู่ในลาดับแรก ลาดับสุดท้ายคือการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะการคิด 2. รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในกลุ่มรายวิชาจิตวิทยาประกอบด้วย 2.1 แผนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 9 เทคนิค ได้แก่ การใช้คาถาม กรณีศึกษา บทบาทสมมติ ความร่วมมือ วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ศูนย์การเรียน ปัญหาเป็นฐาน โครงงานเป็นฐาน การวิจัยเป็นฐานและมีขั้นสรุปการนาไปประยุกต์ใช้ขั้นประเมินผล 2.2 การจัดสิ่งที่ส่งเสริมทักษะการคิด ควรมีการจัดบรรยากาศที่เป็นกันเอง ยืดหยุ่น จัดรูปแบบโต๊ะเก้าอี้เหมาะสม โดยครูควรเตรียมความพร้อมในการสอน และสร้างความรู้สึกที่ปลอดภัย เคารพความคิดของผู้เรียน ยอมรับความคิดแปลกใหม่ อานวยความสะดวก และผู้เรียนควรมีบทบาทโดยควรตั้งเป้าหมายการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ช่างสังเกต ซักถาม มีอารมณ์ขัน 2.3 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาจิตวิทยาทั้ง 5 รายวิชา มีลักษณะเป็นข้อสอบปรนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดกับจุดประสงค์ (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 มีจานวนข้อคาถามที่มีความยากอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อย่างน้อยร้อยละ 60 ของจานวนข้อคาถามทั้งหมดของแต่ละรายวิชาและมีจานวนข้อคาถามที่มีค่าอานาจจาแนกตามเกณฑ์ (r ≥ .20) อย่างน้อยร้อยละ 40 ขึ้นไปของจานวนข้อคาถามทั้งหมดของแต่ละรายวิชา สาหรับค่าความเชื่อมั่นซึ่งคานวณจากสูตร KR-20 ความเชื่อมั่นของทั้ง 5 รายวิชามีค่าระหว่าง .70 - .95 2.4 แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยข้อคาถามจานวน 42 ข้อ จาก 16 สถานการณ์ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีค่าความเที่ยงจากการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) เท่ากับ 0.45

Abstract

The purposes of this study were 1) to investigate the current states of learning-centered approach promoting critical thinking skills and 2) to develop the learner-centered instructions to promote critical thinking skills and academic achievement. The population was a group of 12 faculty members in psychology. The research instrument was the questionnaire inquiring opinions toward current states of learning-centered approach. The results revealed that: 1. The opinion toward the current states of learning-centered approach was found in the high level. The first aspect was learning-centered teaching, whereas the last aspect was management of classroom atmosphere promoting thinking skills. 2. The model of the learner-centered instructions to promote critical thinking skills and academic achievement in psychology courses consisted of 1) Lesson plans including learning objectives, instructional procedures, and nine techniques of learner-centered instructional activities: inquiry-based learning, case study, role playing, cooperative Learning, 4 MAT teaching, learning center, problem-based learning, project-based learning, and research-based learning 2) Classroom management employing flexible atmosphere and managing appropriate physical classrooms with teachers’ roles in using nine instructional techniques, creating psychological safety climate, respecting learners’ ideas, accepting new ideas, facilitating learners, and learners’ roles in setting learning goals, having positive attitudes toward learning, investigating, inquiring, participating in classrooms, and having sense of humor 3) Achievement tests in five psychology courses with the Index of Item – Objective Congruence (IOC) between .67 - 1.00, at least 60 percent of all items in the test has the proper value of difficulty (P-value), at least 40 percent of all items in the test met the criterion of discrimination (R-value) (r ≥ .20), with reliability (KR-20) between .70 - .95, and 4) Critical thinking test consisting of 42 items of 16 scenarios including critical thinking processes and according to critical thinking behaviors with the IOC between .67 - 1.00 and the reliability (Cronbach’s coefficient alpha) of .45.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

564 15 พ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่