ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การใช้วิธีการสอนแบบความร่วมมือโดยวิธีนิทรรศการ เพื่อพัฒนาทักษะการศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่ม กรณีศึกษา รายวิชาญี่ปุ่นศึกษา 1 นักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ หงษ์อนุรักษ์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

461-58-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่มโดยใช้กระบวนการจัดนิทรรศการ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ใช้วิธีสอนแบบความร่วมมือโดยใช้กระบวนการจัดนิทรรศการ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อวิธีการสอนแบบความร่วมมือโดยใช้กระบวนการการจัดนิทรรศการ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้าชมนิทรรศการรายวิชาญี่ปุ่นศึกษา ประชาการของการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาญี่ปุ่นศึกษา 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 และผู้เข้าชมนิทรรศการคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือโดยใช้กระบวนการจัดนิทรรศการในรายวิชาญี่ปุ่นศึกษา 2 มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นักศึกษามีเห็นด้วยกับการจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือโดยใช้กระบวนการจัดนิทรรศการในระดับมาก โดยเห็นด้วยด้านบรรยากาศการเรียนรู้มากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือโดยใช้กระบวนการจัดนิทรรศการทาให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเองและกลุ่ม ทาให้นักศึกษาเข้าใจและรู้จักเพื่อน และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือโดยใช้กระบวนการจัดนิทรรศการมีความเหมาะสมกับเนื้อหาและทาให้นักศึกษา กล้าคิดกล้าตอบ ผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจต่อการจัดนิทรรศการญี่ปุ่นศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในด้านความรู้ความเข้าใจและการนาความรู้จากการชมนิทรรศการไปใช้มากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้เข้าชมนิทรรศการได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการชมนิทรรศการ สถานที่จัดนิทรรศการมีความสะอาด และเหมาะสม ผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจระดับมากต่อเนื้อหาสาระของการจัดนิทรรศการ การประชาสัมพันธ์ และบรรยากาศสิ่งแวดล้อมของ การจัดนิทรรศการ

Abstract

This research aimed to 1) develop a collaborative learning skill employing exhibition process; 2) study the achievement of learners who have been taught using a collaborative learning by exhibition process; 3) study the attitudes of students who have been taught using a collaborative learning by exhibition process, and 4) study the satisfaction of exhibition visitors. Sophomore students enrolled in course Japanese study 2 in the second semester of 2557 have been taught using a collaborative learning by exhibition process and pupils of the secondary schools in Chiang Mai were invited to visit the exhibition. Data collected by a questionnaire. The research found that the sophomore students learned Japanese study using a collaborative learning by exhibition process had higher learning achievement. Students had a very good attitude towards learning using a collaborative learning by exhibition process and the level of good attitude of the learning atmosphere was highest. Moreover, the learning using a collaborative learning by exhibition process helped students gain more responsibility for them and their own group, allowed them to better understand and be able to make friends. Also, learning activities using a collaborative learning by exhibition process was appropriate and allowed students to dare to think and respond. Exhibition visitors were satisfied with the exhibition of Japanese studies at a high level. They were satisfied in the knowledge and understanding as well as application of knowledge from exhibition at a high level. Clearly, visitors to the exhibition have gained increased knowledge from the exhibition. Moreover, the exhibition was clean and suitable. The exhibition visitors were satisfied with the exhibition content, public relations, and the exhibition atmosphere and environment.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

1875 07 มิ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่