
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ฐานข้อมูลเว็บบล็อกการเมืองไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
462-58-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำฐานข้อมูลเว็บบล็อกการเมืองไทย 2) ประเมินประสิทธิภาพการใช้งานฐานข้อมูลเว็บบล็อกการเมืองไทย และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ทางการเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลเว็บบล็อกการเมืองไทยและแบบประเมินการใช้ฐานข้อมูลเว็บบล็อกการเมืองไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูล ได้แก่ โปรแกรม PHP และ MySQL ผลการวิเคราะห์ผู้แต่งเว็บบล็อกการเมืองไทยที่โพสต์มากที่สุด คือ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ร้อยละ 10.58 มีความเชี่ยวชาญสาขาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ จบการศึกษา ในระดับปริญญาเอก ร้อยละ 23.08 สังกัดคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร้อยละ 6.73 มีตำแหน่งเป็นคอลัมน์นิสต์ หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ร้อยละ 5.58 ผู้แต่งร้อยละ 53.08 ไม่ระบุข้อมูลสำหรับการติดต่อไว้ในเว็บบล็อก มีเพียงร้อยละ 46.92 ที่ระบุข้อมูลที่ติดต่อได้ทางอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ ผู้แต่งระบุความเกี่ยวข้องกับหัวข้อโพสต์ ที่ตนเขียนว่าเป็นศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง ร้อยละ 10.58 และส่วนใหญ่ไม่ระบุความเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ตนเองเขียนถึงร้อยละ 86.15 ผู้แต่งเว็บบล็อกการเมืองไทยอยู่ในระดับน่าเชื่อถือน้อยที่สุด ร้อยละ 42.12 เนื่องจากไม่ระบุตัวตนที่ชัดเจนว่าเป็นใคร สังกัดใด หัวเรื่องภาษาไทยในเว็บบล็อก ได้แก่ การเมือง--ไทย ร้อยละ 42.88 รองลงมาคือ ความรุนแรง ทางการเมือง ร้อยละ 22.88 หัวเรื่องภาษาต่างประเทศ ได้แก่ Political--Thailand ร้อยละ 42.88 และ Political violence ร้อยละ 22.88 โพสต์ส่วนใหญ่ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ร้อยละ 98.08 แต่ละโพสต์มีจำนวนคำอยู่ระหว่าง 501 – 1,000 คำ ร้อยละ 21.15 โพสต์ส่วนใหญ่ไม่มี คนแสดงความคิดเห็น ร้อยละ 92.70 โดยชื่อที่ใช้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด คือ Anonymous ร้อยละ 20.83 เป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุน ร้อยละ 63.64 จำนวนคำที่โพสต์ความคิดเห็นอยู่ระหว่าง 1 – 100 คำ ร้อยละ 39.47 มีการรีโพสต์จากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ร้อยละ 58.08 แหล่งข้อมูลที่มีการรีโพสต์มากที่สุดคือ www.matichon.co.th (มติชนออนไลน์) ร้อยละ 40.40 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่โพสต์ ได้แก่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 24.49 รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 13.15 พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่โพสต์ คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 67.35 และพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 28.91 เนื้อหาที่โพสต์เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ การประท้วงรัฐบาลของกลุ่ม กปปส. ร้อยละ 3.46 และการต่อต้าน การทำรัฐประหาร ร้อยละ 2.69 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่โพสต์ ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ร้อยละ 6.15 และคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ร้อยละ 3.27 ผู้เขียนโพสต์มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ ร้อยละ 86.35 และเพื่อให้ข้อมูล ร้อยละ 15.00 เนื้อหาในเว็บบล็อกส่วนใหญ่มีความน่าเชื่อถือในระดับน้อย ร้อยละ 70.38 ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลเว็บบล็อกการเมืองไทย มีโครงสร้างของฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนการจัดการฐานข้อมูล เป็นการนำเข้าฐานข้อมูล โดยผู้ดูแลระบบ ส่วนการสืบค้นฐานข้อมูล และส่วนแสดงผลการสืบค้น โดยสามารถเข้าถึงผ่านURL ของฐานข้อมูล คือ http://www.politicalblog.com ในฐานข้อมูลเว็บบล็อกการเมืองไทย มีข้อมูลทั้งสิ้น 520 รายการ ซึ่งเป็นเว็บบล็อกที่โพสต์ระหว่าง ปี พ.ศ.2554 – 2557 ทั้งที่เป็นเนื้อหาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมินผลการใช้ฐานข้อมูลจากผู้ใช้จำนวน 60 คน พบว่า ผู้ใช้ฐานข้อมูลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 55 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 45 มีสถานภาพเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 70 และเป็นประชาชนทั่วไป ร้อยละ 30 ด้านประสิทธิภาพการใช้งานฐานข้อมูลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.20) เมื่อพิจารณาภาพรวมเป็นรายด้าน พบว่า ฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพด้านการสืบค้นข้อมูลมากที่สุด ( =4.33) รองลงมา คือ ด้านสภาพทั่วไปของฐานข้อมูล ( =4.04) และด้านการแสดงผลหน้าจอ ( =4.01) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาพทั่วไปของฐานข้อมูล ผู้ใช้เห็นว่าเนื้อหามีความเหมาะสม ถูกต้อง และอ่านง่ายในระดับมากที่สุด ( =4.23) ด้านการสืบค้นข้อมูลความคิดเห็นของผู้ใช้ฐานข้อมูลที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ทางเลือกการสืบค้นจากปี (Year) ( =4.53) ผลการสืบค้นฐานข้อมูลเป็นไปตามความต้องการ ทางเลือกการสืบค้นจากผู้แต่ง (Author) และทางเลือกการสืบค้นจากชื่อเรื่อง (Title) มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( =4.45) ทางเลือกการสืบค้นจากคำสำคัญ (Word) ( =4.25) ระยะเวลาในการรอผลการสืบค้น ( =4.23) และทางเลือกจากการสืบค้นจากหัวเรื่อง (Subject) ( =4.22) ด้านการแสดงผลหน้าจอ ความคิดเห็นของผู้ใช้ฐานข้อมูลอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ แบบตัวอักษร (Font) มีความเหมาะสม ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสม และสีตัวอักษรมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( =4.07) การใช้สีพื้นหลัง ( =4.03) และการจัดองค์ประกอบหน้าจอเพื่อการนำเสนอมีความน่าสนใจ สวยงาม และเหมาะสม ( =3.83) ส่วนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ได้แก่ ควรเพิ่มเติมเนื้อหาในฐานข้อมูลให้ครบถ้วนถึงปีปัจจุบัน และควรมีเนื้อหาในฐานข้อมูลย้อนหลังประมาณ 10 ปี ด้านบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ทางการเมือง พบว่า เว็บบล็อกการเมืองไทยมีบทบาททางการเมือง 2 บทบาทหลัก ได้แก่ การเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสารทางการเมืองไทย และการเป็นแหล่งแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ทางการเมืองไทย
Abstract
This research aimed to 1) develop the Thai political weblog database, 2) enhance the effectiveness of political information services, and 3) study the role of social media in Thai politics. The research instruments were datasheet for Thai political weblogs and the evaluation form of using of the Thai political weblog database. Data were analyzed by frequency, percentage, mean ( ), and standard deviation (S.D.). Database development tools were PHP and MySQL. The content analysis of Thai political weblogs found that most prominent Thai political bloggers is Nidhi Eoseewong 10.58 percent of Thai political bloggers have the expertise on history, political science, and social sciences. 23.08 percent of Thai political bloggers have a doctoral degree. 6.73 percent of Thai political bloggers were affiliated to Faculty of Political science, Thammasat University. 5.58 percent of Thai political bloggers were columnist. 53.08 percent of Thai political bloggers did not provide contact information on the weblogs. Only 46.92 percent of Thai political bloggers identified contact information by email or phone number. 10.58 percent of Thai political bloggers mentioned they were related to the topic of his post as a professor of political science whereas 86.15 percent of Thai political bloggers did not identify their affiliation, so the reliability of Thai political bloggers was at lowest level. 42.8 percent of subject headings was Political--Thailand, 22.88 percent was political violence. The majority of the weblog posts did not cite other sources, word length from 501 words to 1,000 words and no comment. The most used names of comments were Anonymous. 63.64 percent of comments were to support. Most comments had word length from 1 to 100 words. 58.08 percent of weblog posts were republished from other sources. The major source being reposted was Matichon Online. The most frequently person appeared in weblog posts were Yingluck Shinawatra and Abhisit Vejjajiva. The most frequently political party appeared in weblog posts were Pheu Thai Party and Democrat Party. The content of weblog posts were related to government protesters by PDRC and coup d'état protesters. The organizations appeared most frequently in the content of weblog posts were the National Council for Peace and Order (NCPO) and People's Democratic Reform Committee. The political bloggers had the purpose of writing to criticize and to provide information. Most Thai political weblogs were reliable at low level. The structure of Thai political weblog database is divided into 3 parts: database management (Admin), searching, and search results. The database can be accessed through the URL http://www.politicalblog.com. In the database, there are 520 entries, which are Thai political weblogs posted between 2011-2014, both in Thai and English. The researchers conducted a database evaluation of 60 users. The database users were 55 percent female and 45 percent male. Most of them are students. The overall efficiency of the database was at a high level ( = 4.20). In terms of efficiency aspects, the database was the most effective in information retrieval ( = 4.33). Followed by general condition aspect ( = 4.04) and on-screen display aspect ( = 4.01), respectively. In general condition aspect, the database uses considered the content to be the most appropriate, accurate, and easy to read ( = 4.23). In the information retrieval aspect, the opinions of the database users were at a highest level using the Year searching ( = 4.53), search results were based on requirements, Author and Title searching were the same mean ( = 4.45). Word searching ( = 4.25), response time ( = 4.23) and Subject searching ( = 4.22). On-screen display aspect, the opinions of the database users were at a high level in all aspects, including the font style, font size, font color ( =4.07) and background color ( = 4.03). The screen composition for presentation was interesting and beautiful ( = 3.83). Other comments and suggestions were that there should add more back about 10 years content to the current year. Thai political weblogs play two main roles: being the source of Thai political news and the source of sharing political knowledge and experiences.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา374 24 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445