
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิเคราะห์ศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งของศูนย์การค้า กรณีศึกษา : พื้นที่ในเขตผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่
อาจารย์บรมศักดิ์ กลั่นเรืองแสง
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
474-58-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
การศึกษา “การวิเคราะห์การวิเคราะห์ศักยภาพด้านทาเลที่ตั้งของศูนย์การค้า กรณีศึกษา: พื้นที่ในเขตผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการกระจายตัวของศูนย์การค้า 2) เพื่อประมวลผลการควบคุมการใช้ที่ดินย่านพาณิชยกรรมตามข้อกาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมาตรการทางผังเมือง และ 3) เพื่อศึกษาหาทาเลที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งศูนย์การค้า วิธีการศึกษาจะแบ่งศูนย์การค้าเป็น 3 ประเภท คือ ศูนย์การค้าภูมิภาค (ขนาดใหญ่) ศูนย์การค้าชุมชน (ขนาดกลาง) และศูนย์การค้าใกล้บ้าน (ขนาดเล็ก) โดยในเรื่องการกระจายตัวของศูนย์การค้าจะใช้ดัชนีจุดอื่นข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดในการวิเคราะห์ ส่วนการประมวลผลการใช้ที่ดินถูกต้องตามมาตรการผังเมืองหรือไม่ จะใช้กฎข้อบังคับของผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่มาเปรียบเทียบกับศูนย์การค้าในปัจจุบัน และสุดท้ายวิเคราะห์หาทาเลที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งศูนย์การค้า ใช้กฎข้อบังคับของผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกทาเลที่ตั้งจากการสัมภาษณ์เจ้าของศูนย์การค้า นามาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การซ้อนทับข้อมูลเชิงพื้นที่ และการวิเคราะห์แต้มคะแนนด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจศูนย์การค้าในเขตผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่มีทั้งหมด 25 แห่ง แบ่งเป็น ศูนย์การค้าภูมิภาค จานวน 6 แห่ง มีลักษณะการกระจายตัวแบบเกาะกลุ่ม โดยจะตั้งอยู่บริเวณที่เป็นสี่แยกตัดกันระหว่างถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่กับถนนรัศมีออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ ศูนย์การค้าชุมชน จานวน 11 แห่ง มีลักษณะการกระจายตัวแบบไม่แน่นอน โดยจะตั้งอยู่ติดถนนสายหลัก คือ ถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ และถนนรัศมีออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ และศูนย์การค้าใกล้บ้าน จานวน 8 แห่ง มีลักษณะการกระจายตัวแบบเกาะกลุ่ม โดยส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ติดกับถนนสายรอง การประมวลผลการควบคุมการใช้ที่ดินย่านพาณิชยกรรมตามข้อกาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมาตรการทางผังเมือง พบว่ามีศูนย์การค้าหลายแห่งด้วยกันที่มีทาเลที่ตั้ง ไม่ถูกต้องตามข้อกาหนดของผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2555 แต่ที่สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์การค้าขึ้นได้ เพราะว่าเริ่มก่อสร้างหรือจัดตั้งก่อนที่ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ฉบับนี้จะบังคับใช้ โดยเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งก่อนหน้าที่จะบังคับใช้นี้ เขตผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ไม่มีกฎผังเมืองบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา จึงเท่ากับว่าทาเลที่ตั้งศูนย์การค้าในเขตผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่มีความถูกต้องตามข้อกาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมาตรการทางผังเมืองสาหรับทาเลที่ตั้งที่เหมาะสมสาหรับจัดตั้งศูนย์การค้าภูมิภาค คือบริเวณถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่รอบแรก คือ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลาปาง) และถนนมหิดล และถนนรัศมีที่ออกจากเมืองเชียงใหม่มาตัดกับถนนวงแหวนที่กล่าวมานี้ ทาเลที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์การค้าชุมชน คือ บริเวณถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ทั้ง 3 รอบ และถนนรัศมีที่ออกจาก ตัวเมืองเชียงใหม่ และทาเลที่ตั้งที่เหมาะสมของศูนย์การค้าใกล้บ้านจะคล้ายกับศูนย์การค้าชุมชน แต่แตกต่างตรงที่มีพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งมากกว่าในเขตคูเมืองเชียงใหม่
Abstract
The purposes of “An Analysis on Potential Locations for Shopping malls, A Case Study: An Area in Chiang Mai Comprehensive Plan” were to: 1) study expansions of shopping malls; 2) evaluate results of land use control in commercial area under the regulations of land use in city plan measures; and 3) study feasible locations for shopping malls. In addition, shopping malls were categorized into three types comprising regional shopping malls (large), community malls (medium) and neighborhood mall (small). The other nearest vicinity index was used for studying shopping mall expansions. Moreover, the regulations of Chiang Mai comprehensive plan were applied for evaluating whether land use was conformant with city plan measures. The regulations were compared with current shopping malls. The descriptive statistics, spatial data overlay and score analysis with the geographic information system (GIS) were used for analyzing regulations of Chiang Mai comprehensive plan and factors influencing shopping mall investors on location selection. Finally, an analysis of feasible locations for shopping malls was concluded. The findings indicate that there are a total of 25 shopping malls in an area of Chiang Mai comprehensive plan including six regional malls, eleven community malls and eight neighborhood malls. The expansions of regional malls are concentric, especially an area of intersection of ring roads and radial roads. The community malls are expanded in a pattern of uncertain expansion. They are located along arterial roads which are ring roads and radial roads. In addition, neighborhood malls are concentric expanded. Most of them are located along collector roads. The evaluation results of land use control in commercial area under regulations of land use in city plan measures reveal that several shopping malls are located in locations in unconformity with regulations of Chiang Mai comprehensive plan adopted in 2012. However they are allowed to construct before enforcement of the comprehensive plan. The plan has been effective since May 21, 2013. Prior to the effective date, Chiang Mai had no city plan since 2006. It is deemed that the shopping malls located in an area of comprehensive plan are legal due to regulations of land use under city plan measures. The locations suitable for regional shopping malls are first round ring roads: Super highway road (Chiang Mai- Lampang) and Mahidol road, and radial roads from Chiang Mai City connecting with the said ring roads. Meantime, the appropriate locations for community malls are three rounds ring roads and radial roads. The feasible locations for neighborhood malls are similar to community malls but there are more suitable locations rather than Chiang Mai moat area.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา914 17 พ.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445