
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
รูปแบบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนรวมระดับอุดมศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ยอดคำแปง
คณะครุศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
486-58-EDU-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อนาเสนอรูปแบบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษาที่พัฒนาขึ้น โดยงานวิจัยนี้มีการดาเนินงานวิจัยใน 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาองค์ประกอบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา และ 3) การตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี หัวหน้าศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการ และรองหัวหน้าศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการ และผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน และบุคลากร จานวนทั้งสิ้น 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันข้อค้นพบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ คือ (1) การให้ความสาคัญกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบุคลากร (2) ผู้บริหารมีภาวะผู้นาในการนาองค์กร (3) เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ (4) ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร (5) การใช้องค์กรเป็นคู่เทียบเคียง (6) การสร้างคุณภาพชีวิตบุคลากร และ (7) การบริหารงานอย่างต่อเนื่อง 2) รูปแบบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ คือ (1) การให้ความสาคัญกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบุคลากร (2) ผู้บริหารมีภาวะผู้นาในการนาองค์กร (3) เทคนิค และเครื่องมือการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ (4) ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร (5) การใช้องค์กรเป็นคู่เทียบเคียง (6) การสร้างคุณภาพชีวิตบุคลากร และ (7) การบริหารงานอย่างต่อเนื่อง และมีกระบวนการ 8 กระบวนการ คือ (1) การริเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง (2) การจัดโครงสร้างองค์กร และทีมงาน (3) การจัดระบบเครื่องมือการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ (4) การประกาศใช้นโยบาย และให้ความรู้แก่บุคลากร (5) การกากับติดตาม และประเมินผล (6) การทบทวนการดาเนินงาน (7) การให้รางวัลผู้ประสบผลสาเร็จ และ (8) การเทียบเคียงกับหน่วยงานที่ประสบผลสาเร็จ 3) การตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพศูนย์บริการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาที่มีความพิการเรียนรวมในระดับอุดมศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันข้อค้นพบ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญให้สามารถนาไปใช้ได้
Abstract
The purposes of this research were 1) to explore components of a quality management model for disabilities support services center in higher education, 2) to propose the quality management model, and 3) to examine applicability of the model. Research was conducted in three steps; 1) study the element quality management model, 2) development the quality management model, and 3) examining the quality management model. A total of 96 participants were categorized into two groups of the study sample; administrative and working staff. The administrative group included university presidents, vice-presidents, deans, deputy deans, head, and deputy head of disabilities support services center. And the working group comprised university lecturers and staff from various university office. Instruments employed were an interview protocol, a questionnaire, and a connoisseurship. Frequency, percentage, mean, standard deviation, factor analysis and content analysis were employed for data analyses. The results were as follows; 1) 7 major components of the quality management model for disabilities support services center were found; including (1) paying attention to customers, stakeholders, and staff, (2) administrators’ leadership in leading organization, (3) tools and techniques for quality management, (4) administrators’ good governance, (5) benchmarking organization, (6) providing personnel with quality living, and (7) continuum management. 2) The proposed quality management model for disabilities support services center in higher education comprised 7 factor : (1) paying attention to customers, stakeholders, and staff, (2) administrators’ leadership in leading organization, (3) tools and techniques for quality management, (4) administrators’ good governance, (5) benchmarking organization, (6) providing personnel with quality living, and (7) continuum management. and 8 procedures: (1) top-down initiation, (2) organizational structure and staffs, (3) quality management tools system, (4) proclamation and personnel’s knowledge, (5) monitoring and evaluation, (6) performance review, (7) achievement award in quality management, and (8) benchmarking with success departments. 3) Examining results from connoisseur ship found to confirm the findings that the quality management model for disabilities support services center in higher education is applicable for future implementation.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา413 03 ก.พ. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445