
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับช่วงวัยการศึกษารายวิชาสถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
อาจารย์นิชธิมา บุญเฉลี่ยว
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
492-58-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาในชั้นเรียนที่มุ่งแสวงหาผลสัมฤทธิ์จากการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับช่วงวัยการศึกษารายวิชาสถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา SO 4901 สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/2557 โดยเป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีช่วงวัยต่างกันจำนวน 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างควบคุม ซึ่งเป็นนักศึกษาที่มีช่วงวัยการเรียนรู้ตามเกณฑ์ในระดับอุดมศึกษา มีอายุระหว่าง 20-21 ปี และกลุ่มตัวอย่างทดลอง ซึ่งเป็นนักศึกษาสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป ผลของการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอาศัยแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนรู้แบบกลุ่มช่วยรายบุคคลสำหรับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างทดลอง ซึ่งผู้วิจัยจัดให้มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดเป็นออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมและนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction) ขั้นนำเสนอปัญหา (Presentation) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) ขั้นฝึกทักษะและบูรณาการแนวคิด (Practical and Integration) และขั้นเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันและชื่นชมความสำเร็จ (Linking to Life and Appreciation) ผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่มีช่วงวัยต่างกัน พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีทักษะและความสามารถทางการเรียนรู้ จากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติภาคพรรณนา และสถิติภาคอนุมาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการเรียนรู้ภายหลังจากการเรียนสูงกว่าเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้เรียนกลุ่มทดลองมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้สำหรับผู้เรียนกลุ่มควบคุม และสามารถทำให้ผู้เรียนในช่วงวัยที่แตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับเดียวกันได้ คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับช่วงวัยการศึกษา นักศึกษาที่มีช่วงวัยต่างกัน
Abstract
This research is aimed to study and improve for academic achievement and class development related to statistics for social sciences research course with educational age level. The sample is consisted with those students who has enrolled the course SO 4901: Statistics for Social Sciences Research, Semester 1/2014. The control group is an undergraduate student between age 20-21 and the experimental group is the students with age above 40. The teaching model is designed and developed by Collaborative Learning and Team Assisted Individualization conceptual thought for experimental group. The learning implementations provided by the researcher are Introduction, Presentation, Analysis, Sharing, Practical and Integration, Linking to Life and Appreciation. The results has shown that the experimental students group has improved their skills and leaning capability. There was a significantly different at the statistic level of .05 between pre-test and post-test of Statistics for social sciences research basic, Descriptive statistics, and Inferential statistics, and average score of leaning capability is 75% higher than standard. The findings conclude that the efficiency of the students who have been taught with developed model is not different from those students who have been provided initiate teaching module. The students with different ages will be able to achieve their study in the same level. Keywords: Teaching and learning model which is consistent with the educational age, different ages' students
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา116 24 พ.ค. 2563

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445