
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
กลยุทธ์ในการปรับตัวของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในการเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
อาจารย์ปลินดา ระมิงค์วงศ์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
493-58-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการวิจัยคือ เพื่อทำความเข้าใจกลยุทธ์ในการปรับตัว ในการศึกษาในระดับปริญญาตรีของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้แนวคิดกลยุทธ์ของ Michel de Certeau ที่หมายถึงกิจกรรมที่กระทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระเบียบบางอย่างที่เผชิญอยู่ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสถานการณ์ที่ผู้กระทำนั้นพึงพอใจ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน คือมีการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ จำนวน 25 คนที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และใช้วิธีการสนทนากลุ่มย่อยและสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้างกับตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างอีก 5 คน ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า นักศึกษา ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมักถูกมองหรือถูกจัดวางไว้ในตำแหน่งชายขอบของสังคมไทยมีกลยุทธ์ ในการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานะของการเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้วยการพยายามเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากคนรอบตัว ทั้งในเรื่องของเนื้อหาวิชาที่เรียน ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัย การทำกิจกรรมต่างๆ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการสังเกต การเลียนแบบ หรือการสอบถามโดยตรงจากกลุ่มคนดังกล่าว ทั้งที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์และไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ ที่น่าสังเกตคือกลยุทธ์ ที่นักศึกษากลุ่มตัวอย่างเลือกใช้ มีรูปแบบที่สะท้อนความแตกต่างทางเพศสภาพได้ด้วย กล่าวคือ นักศึกษาชายมีการเลือกใช้กลยุทธ์การปรับความคิดของตนเองให้เข้มแข็ง ไม่ใส่ใจกับคำพูดของคนอื่น และพยายามพึ่งตนเอง ในขณะที่นักศึกษาหญิงมีความวิตกกังวลกับคำพูดของคนอื่น และพึ่งพิงเพื่อนค่อนข้างมาก นักศึกษาหญิงคนหนึ่งมีการเลือกใช้วิธีการศัลยกรรมเพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบ ของความงามที่เป็นมาตรฐานเดียวกันของสังคม นอกจากนี้ ยังมีการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนและอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่ากลยุทธ์ต่างๆ ที่นักศึกษากลุ่มตัวอย่างเลือกใช้ เป็นรูปแบบของความพยายาม ที่จะผสมกลืนกลายให้เข้ากับระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิถีการปฏิบัติแบบคนทั่วไปเพื่อให้เกิด ความกลมกลืน ไม่แปลกแยกจากผู้อื่น โดยไม่ได้มีการนำเสนอความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง ในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่อย่างใด เนื่องจากนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์เองก็มีความตระหนักหรือ ความระแวงในเรื่องของการมีอคติ การดูถูก หรือการแบ่งแยกพวกเขา/พวกเรา จากคนที่ไม่ได้เป็น ชาติพันธุ์เช่นกัน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษากลุ่มนี้ไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จากทางสถาบันหรือภาควิชาแต่อย่างใด แต่ภาควิชาการพัฒนาชุมชนมีรายวิชาที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความแตกต่างทางชาติพันธุ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาทั่วไป เช่น รายวิชากระบวนการกลายเป็นชายขอบกับการพัฒนา และรายวิชาความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะมีการส่งเสริมประเด็นดังกล่าวไปในรายวิชาของหลักสูตรอื่นๆ ด้วย เพื่อทำให้เกิดการยอมรับและเข้าใจในนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
Abstract
The purpose of this research is to understand adaptive tactics of ethnic students who are studying for bachelor’s degree, by applying Michel de Certeau’s concept of tactic which is defined as the actions used to turn a regulation into a preferable situation for the actor. This study uses mixed methods; the researcher employs questionnaires with 25 participants who are third- and fourth- year students in the Department of Community Development, Faculty of Humanities and Social Sciences, at Chiang Mai Rajabhat University. The study also includes focus group discussions and semi-structured interview methods with five of the participants. The study indicates that the ethnic students, who are usually marginalized within Thai society, have utilized adaptive tactics to conform to the university system. The participants are trying to learn various things (i.e., study subjects, the university education system, student activities, and everyday life) from those around them – either ethnic or non–ethnic people - by observing, following, or asking. Noticeably, adaptive tactics that have been employed by the participants reflect gender differences between male and female students; for instance, male students’ tactics include adjusting thoughts to be more impregnable, ignoring gossip, and using self-reliance. In comparison, female students seem to be more worried and depend on their friends. One female student even uses plastic surgery in order to comply with social beauty myth. Moreover, social media has been used by the ethnic students as a channel to build and sustain relationships with friends and teachers. The students in the sample have utilized adaptive tactics to assimilate into the mainstream society, and they have not presented their ethnicity in any activities they have performed because they have experienced some bias, discrimination, and separation from other Thai people. The study results also show that these ethnic students do not require any special support from the university or the department. Nonetheless, the Department of Community Development has included multiculturalism and ethnicity instruction within several subjects, e.g. Marginalization and Development, Diversities of Social and Culture, in order to enlarge students’ perceptions. However, the research suggests that it would be better to add the notion of ethnicity and multiculturalism into other disciplines as well in order to understand and recognize the ethnic students in broad area.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา3534 07 มิ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445