
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
พฤติกรรมการออมของครัวเรือน เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษากลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์พิไล เลิศพงศ์พิรุฬห์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
501-58-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงทำให้เกิดงานวิจัย เพื่อศึกษาถึงลักษณะและรูปแบบการออมภาคบังคับ พฤติกรรมการออมภาคสมัครใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการออมและจุดมุ่งหมายในการออมของครัวเรือน เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยออกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน แล้วนำมาสรุปผลด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนาโดยการใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ลักษณะและรูปแบบการออมภาคบังคับของกลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แบ่งเป็นการออมระบบบำนาญชั้นที่ 1 เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตหลังเลิกทำงาน สำหรับข้าราชการ คือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และบุคลากรที่มิใช่ข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย คือ กองทุนประกันสังคม ขณะที่การออมระบบบำนาญภาคบังคับชั้นที่ 2 เพิ่มจากชั้นที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับข้าราชการ คือ การออมเพิ่มจากการออมขั้นต่ำในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ขณะที่บุคลากรที่มิใช่ข้าราชการ คือ การออมในรูปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของมหาวิทยาลัย และการออมระบบบำนาญชั้นที่ 3 เพื่อให้ผู้ออมมีหลักประกันที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น คือ การออมภาคสมัครใจกับกองทุนรวม ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์ออมทรัพย์และบริษัทประกันชีวิต โดยมีแหล่งในการออมภาคสมัครใจสำคัญ คือ ธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการออมคือ รายได้ประจำที่ได้รับต่อเดือน และความมั่นคงในหน้าที่การงาน มีจุดมุ่งหมายในการออม เพื่อไว้เป็นรายได้สำหรับใช้จ่ายในอนาคตเมื่อไม่ได้ทำงาน ข้อจำกัดของการวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่างทำงานในภาคราชการ จึงควรเน้นศึกษาภาคเอกชนเพิ่มเติม
Abstract
As a result form changing in population structure to Thai aging society, the purposes of this research were to study the characters and patterns of compulsory saving, the behavior of voluntary saving, the factors that influence saving and the purposes of saving for supporting aging population. The research used quantitative method by questionnaires from 600 samples that could be summarized in description methods by percentages and standard errors. The findings of research showed that the characters and patterns of Chiang Mai Rajabhat university population had multi-pillar compulsory saving. The 1st pillar of saving for pension system after retirement was government pension fund for government employees whereas the officer who were not government employees or university officers were social security contribution. The 2nd pillar of saving for higher quality of living after retirement over than the 1st pillar, government servants would be more saving than minimum rate while university officers were CMRU provident fund. The 3rd pillar of saving for higher quality of living after retirement over than the 2nd pillar were voluntary saving in provident funds, commercial banks, co-operations and life insurances. And the main sources for voluntary saving were commercial banks with theirs’ aim to support their salaries after retirement. The factors that influence saving were their permanent salaries per month and employment security. The limitation was getting data from government sector, next research should concern in private sectors.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา704 01 ธ.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445