
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การวิเคราะห์วิถีชีวิตประชาธิปไตยในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
507-58-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ปรากฏในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาเอกสาร ตำรา และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ วิถีชีวิตประชาธิปไตยเพื่อนำมากำหนดเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ จากนั้นจึงวิเคราะห์หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ผลิตโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหาข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตประชาธิปไตยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษามีข้อความที่แสดงถึงวิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านคารวธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ วิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านสามัคคีธรรมและด้านปัญญาธรรม ตามลำดับ 2. เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้านพบว่า เรื่องที่พบมากที่สุดในด้านคารวธรรม ได้แก่ การมีมารยาทในการพูด รู้จักใช้วาจาสุภาพ และเหมาะสมแก่กาลเทศะ ส่วนวิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านสามัคคีธรรม เรื่องที่พบมากที่สุด ได้แก่ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ถือว่างานส่วนรวมเป็นงานของตน สำหรับวิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านปัญญาธรรม เรื่องที่พบมากที่สุด ได้แก่ การรู้จักใช้ปัญญา ใช้เหตุผล และความถูกต้องในการตัดสินปัญหาทั้งมวล 3. เมื่อจำแนกตามระดับชั้นพบว่า วิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ปรากฏในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาทุกระดับชั้นคือ วิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านคารวธรรม ส่วนวิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านสามัคคีธรรมพบเพียง 5 ระดับชั้น และวิถีชีวิตประชาธิปไตยด้านปัญญาธรรม พบเพียง 3 ระดับชั้น
Abstract
The objective of this investigation was to explore and analyze various forms of democratic lifestyle in Thai language textbooks for elementary school level. The methodology involves documentary research regarding democratic lifestyle in an attempt to define the analysis criteria. The analysis focuses on the Thai language textbooks published by the Office of Basic Education Commission, Ministry of Education, used in Prathom 1-6 levels in order to find messages that reflect the three forms of democratic lifestyle. The three forms include personal ethics, social unity and intellectuality. For the purpose of this research, related data were statistically analyzed for frequency and percentage. The findings of this research are summarized as follows. 1. The statements of the textbooks reflect the forms of democratic lifestyle relating personal ethics the most, followed by social unity, and intellectuality respectively. 2. When details of each form are considered independently, it is found that personal ethics contains the following elements: speaking manners, polite speaking, and appropriate speaking for space and time. Social unity, in turn, includes public benefits and public-mindedness. Finally, intellectuality includes using personal wisdom, reasoning and correctness in decision making in order to solve problems. 3. When the forms in the six levels are categorized, it is found that personal ethics can be identified in the textbooks of all levels; social unity is discovered at five levels; and intellectuality is uncovered only in three levels.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา449 13 ก.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445