ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อยกระดับสมรรถนะในการเรียนรู้ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพัฒน์ ชัยวร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

512-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อยกระดับสมรรถนะในการเรียนรู้โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างนวัตกรรมรูปแบบการสอนวิชาฟิสิกส์ 2) เพื่อสร้างสมรรถนะในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์แก่ผู้เรียนและเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ให้แก่ครู กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัด สพม. 34 และผู้เรียนระดับอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2558 ย และครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการเรียนวิชาฟิสิกส์และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนของผู้เรียนและแบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์วิชาฟิสิกส์ 2 ของนักศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สพม.34 และนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาฟิสิกส์ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมนั้น ได้แก่ เพศ ชั้นปีสาขาวิชา ผลการศึกษา และประเด็นความต้องการ ระยะเวลาการศึกษา เป็นต้น แล้วนำผลมาวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาได้เก็บข้อมูลไปในทำนองเดียวกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1) การสร้างรูปแบบการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และนำรูปแบบการเรียนแบบ PCI ไปใช้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ โดยใช้รูปแบบการสอนจากนักเรียนโรงเรียนต้นแบบ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากกพฤติกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนต้นแบบนี้ โดยเป็นการถอดแบบพฤติกรรมในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมาเป็นรูปแบบการสอน เพื่อนำไปสร้างเป็นรูปแบบการสอนและนำไปใช้กับนักเรียนในโรงเรียน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ซึ่งมีความแตกต่างในเชิงพื้นที่ และเชิงคุณลักษณะเพื่อชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการสอนสามารถนำไปใช้กับโรงเรียนทุกพื้นที่ ซึ่งผู้วิจัยพบว่า รูปแบบการสอนวิชาฟิสิกส์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นี้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ PCI ซึ่งเป็นการศึกษา พฤติกรรมการเรียนตามของไรซ์แมนและกราซา สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีค่าเฉลี่ย 55.76 และ แบบอิสระ ค่าเฉลี่ย 56.68 แบบแข่งขัน ค่าเฉลี่ย 57.76 จึงนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง มวล แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ของนักเรียนกลุ่มที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์แบบ PCI ซึ่ง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.13/80.5 และนักเรียนกลุ่มที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.6/ 81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทั้ง 2 โรงเรียน ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์ ตามรูปแบบการเรียนรู้ แบบ PCI ของนักเรียนกลุ่มที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.785 ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ78.5 และนักเรียนกลุ่มที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.680 ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 68 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ ที่มีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ PCI นี้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทั้ง 2 โรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สุดท้าย ผลการวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ ที่มีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์แบบ PCI โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 2) การสร้างรูปแบบการสอน ในการเรียนรู้ฟิสิกส์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนดาราวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์นำรูปแบบการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียน A, โรงเรียน B และโรงเรียน C ในสังกัด สพม. 34 จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นโดยในการศึกษางานวิจัยคือได้นำรูปแบบการสอนไปจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีรูปแบบการสอนแบบ GISA แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ และมีแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนที่มีรูปแบบการสอนแบบ GISA พบว่าการหาประสิทธิภาพประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอน GISA เรื่องไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ทั้ง 3 โรงเรียนคือ โรงเรียน A เท่ากับ 83.89 / 84.25, โรงเรียน B เท่ากับ 82.60 / 83.50 และ โรงเรียน C เท่ากับ 82.75 / 83.33 และการศึกษาผลการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ซึ่งมีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญหรือผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันจริงและการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนนี้ปรากฏว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3) วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาฟิสิกส์โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และแบบ PBL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสองแคววิทยาคม และศึกษาผลความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ ซึ่งรูปแบบการเรียนที่ได้จากการสำรวจความต้องการของนักเรียน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เลือกรูปแบบ 4MAT ร้อยละ 65 และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เลือกรูปแบบ PBL ร้อยละ 60 ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทั้งสองกับกลุ่มตัวอย่างมาเปรียบเทียบกัน โดยเครื่องมือที่ใช้มีค่าความยากตั้งแต่ 0.35 – 0.50 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.42– 0.65 และความเชื่อมั่น 0.72 ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตามรูปแบบ 4MAT และตามรูปแบบ PBL หลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการเรียนแบบ 4MAT และแบบ PBL มีความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าเท่ากับ 4.19 แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนแบบ 4MAT และแบบ PBL มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี 4) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ PDCA เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ PDCA กับการสอนแบบปกติ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนละ 2 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ PDCA แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ประสิทธิภาพของสื่อ (80/80) และ F-test ในการสร้างและการหาประสิทธิภาพประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรม การจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ พบว่าโรงเรียนจอมทอง เท่ากับ 81.58/80.53, โรงเรียนฮอดพิทยาคม เท่ากับ 80.58/80.10 โดยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ทั้ง 2 โรงเรียนและผลการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ของโรงเรียนจอมทอง และโรงเรียนฮอดพิทยาคม พบว่าผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นัยสำคัญที่ระดับ .05 ตามลำดับหรือผลการทดสอบก่อน-หลังเรียนมีความแตกต่างกันจริง เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อน-หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม PDCA สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ ปกติ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน มีความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PDCA อยู่ในระดับพึงพอใจมาก 5) ผลการวัดทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนตามความต้องการของผู้เรียน ในวิชา ฟิสิกส์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 พบว่า ผู้เรียนชั้นผู้เรียนระดับอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่นักศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 5.50 ต้องการเรียนแบบมีส่วนร่วมจากรูปแบบการสอนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาสุดท้าย มีวิธีการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการคิดอภิมาน ด้านความพยายามใน การกำกับตนเอง ด้านการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน และเมื่อจำแนกตาม เพศพบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิงมีการจัดการสูงสุดอยู่ในระดับสูง และความพยายามในการกำกับตนเองน้อยที่สุดอยู่ในระดับปานกลางแรงจูงใจในการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาสุดท้าย มีแรงจูงใจในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับศึกษาอยู่ภาคการศึกษาที่ 3/2551 กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการ เรียนอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ยกเว้น ด้านความวิตกกังวลในการสอบอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามเพศพบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิงมีการเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนสูงสุดอยู่ในระดับสูง ส่วนความวิตกกังวลในการสอบน้อยที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัด สพม. 34 จำนวน 60 คน ที่ผู้ร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 80.58 ผู้เรียนระดับอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 9.06 ครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 8.09 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 66.67 ส่วมมากมีผลการเรียนอยู่ในระดับพอใช้-เก่งคละกัน โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 2.50-4.00 และครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ คือ เป็นครูผู้ช่วยสังกัด สพม. 34 คิดเป็นร้อยละ 44.98 การปรับตัวทางวิชาการและสังคมของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน หรืออาจารย์ ความรับผิดชอบของอาจารย์ที่มีต่อการพัฒนานักศึกษาและการสอน ความผูกพันของกลุ่มตัวอย่างและเป้าหมายในการศึกษาอยู่ในระดับสูง

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

770 23 ส.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่