ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษาความเป็นไปได้ของการลดการเผาตอซังโดยการใช้น้ำมันพืชเหลือทิ้งชุมชนมาเป็นเชื้อเพลิงในการไถกลบ


อาจารย์วัชรงค์ วงศนุรักษ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

526-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีกรอบแนวคิดที่จะศึกษาศักยภาพของน้ำมันพืชเหลือทิ้งจากครัวเรือนและนำเสนอข้อมูลเชิงเทคนิคในการผลิตไบโอดีเซล สำหรับเป็นแนวทางในการบูรณาการกับเรื่องการจัดการของเสีย สร้างพลังงานชีวภาพจากของเสียในชุมชนเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการเผาของเหลือทิ้งจากกระบวนการทำเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพของชุมชน ในการไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ โดยกระบวนการสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ปริมาณของน้ำมันเหลือทิ้ง/ใช้แล้ว ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำมัน ตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของน้ำมันพืชเหลือทิ้ง/ใช้แล้วในพื้นที่ การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตด้วยกระบวนการTransesterification ตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมัน และวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช ผลการดำเนินการพบว่าจะมีแนวโน้มของน้ำมันเหลือใช้/เหลือทิ้งจากชุมชน ประมาณ 2,172.78 ลิตรต่อเดือน นอกจากนี้ จะมีน้ำมันน้ำมันเหลือใช้/เหลือทิ้ง จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์อีก ไม่น้อยกว่า 150 ลิตรต่อเดือน รวมแล้วจะมีปริมาณน้ำมันเหลือใช้/เหลือทิ้งต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 2,222.78 ลิตรต่อเดือน กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพ 80% จะมีปริมาณไบโอดีเซลที่ผลิตได้ 1,778 ลิตรต่อเดือน และคุณภาพของน้ำมันน้ำมันเหลือใช้/เหลือทิ้ง มีค่าความหนืดที่ 40 องศาเซลเซียส อยู่ที่ 52.34 cSt. (ASTM D-445) และค่าถ่วงจำเพาะ คือ 0.9182 (ASTM D-1298) และการศึกษาสมบัติทางกายภาพของน้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตขึ้นโดยกระบวนการ Transesterification ที่ใช้ NaOH และ KOH เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดย Methanol ที่ใช้ในปฏิกิริยาเป็น AR grade และ Commercial grade ที่อัตราส่วนโดยปริมาตรของน้ำมันพืชที่ใช้แล้วต่อ Methanol ดังนี้ 500 mL:50mL 500 mL:100mL พบว่า ที่อัตราส่วน 500 mL:150mL สมบัติทางกายภาพ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และการใช้ Methanol ที่เป็น Commercial grade จะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า AR grade ในการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา NaOH จะทำให้ค่าความหนืดของน้ำมันต่ำกว่า KOH อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าแต่ต่ำกว่า 40 สตางค์ต่อลิตร นอกจากนี้ ค่าความร้อนของน้ำมันไบโอดีเซลที่ใช้ KOH และ NaOH ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คือ มากกว่า 9,000 cal/g

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

594 12 เม.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่