ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์สมรวี อร่ามกุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

532-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวกับการสมุนไพรท้องถิ่นในพื้นที่ ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรท้องถิ่นในพื้นที่ ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) พัฒนาระบบการจัดจำหน่ายผลผลิตจากสมุนไพรท้องถิ่นในพื้นที่ ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นเทคนิคหลักในการดำเนินการวิจัย โดยนำเอาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาจัดทำเป็นระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เพื่อจัดจำหน่ายผลผลิตจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าให้กับพืชสมุนไพรไทย ประเมินผลความพึงพอใจในประสิทธิภาพการทำงานของระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์พืชสมุนไพรไทยในท้องถิ่นบ้านพระบาทสี่รอยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ผลการประเมินมีระดับความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพในการการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ช่วยการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นได้

Abstract

The aim of our research is applied the e-learning platform from the local or folk wisdom of medicinal plant use of people in Saluang areas. The study areas located in the area of Mae Rim district, the people in this area are the Lanna people or Northern Thai people. Methods of our study consisted of focus group discussion, village information collection, participant observation, and plants survey in the village for collected information about plant used and analyzed data. The results of ourstudy were collected medicinal plant as a plant list. One hundred sixty-five species were selected for e-learning contents. The e-learning platform encouraged user learned the knowledge of medicinal plants in the overview of medicinal plants. The online multimedia contents comprised informations of local medicinal plants in study areas about scientific name, common name, local name, botanical characteristics, figure, plant parts and plant used, all informations and animations were uploaded to website on internet. Moreover, the online testing was builded for examined the knowledge of user after tried our elearning platform.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

477 29 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่