ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาการพัฒนาเว็บเบื้องต้น


อาจารย์ทัศนันท์ จันทร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

533-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ในรายวิชา COM 1303 การพัฒนาเว็บเบื้องต้น และ ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพัฒนาเว็บเบื้องต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนที่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบประเมินคุณภาพการเรียนการสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้านเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กันด้วยค่าที (t-Test of dependent groups) ทั้งนี้ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระยะหลังเรียน สูงกว่าในระยะก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักศึกษามีผลการปฏิบัติงานระหว่างเรียนโดยรวมตลอดภาคเรียน ในระดับเกรด C จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 68.29 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 60 ขึ้นไป 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม มีค่าเฉลี่ย 4.18 อยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดทุกด้านอยู่ที่ 4.22 ซึ่งอยู่ในระดับดี

Abstract

The purposes of this research were to study the effects of the Problem-Based Learning (PBL) activities on Introduction to Web Development Courses and to study satisfaction of students who participate in the Problem-Based Learning (PBL) activities. The target population consists of 41 students who registered to Web Development Courses in Semester 2/2557. Research instruments were a lesson plan that was developed to correspond with the problem-based learning method, the evaluation questionnaire of teaching quality for specialist, the pre-test and post-test of learning achievement, the questionnaire of group activities satisfaction and the questionnaire of content of teaching satisfaction. The collected data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation and the dependent t-Test. The results conforms to hypothesizes which can be summarized as follows: 1. The post-test score of students who participate in the problem-based learning activity was higher than the pre-test score at a statistical significant level of 0.01. 2. There were 28 students (68.29 percent) who got achievement score meet the criteria (grade C) which were higher than the criteria (60 percent). 3. The mean of students’ satisfaction to group activity was 4.18, which was at good level and the mean of students’ satisfaction to the content of teaching was 4.22, which was at a good level.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

502 15 พ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่