ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์โดยใช้ต้นทุนการก่อสร้างต่ำ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสริมศักดิ์ อาษา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

536-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างดินเหนียวกับเถ้าที่มีค่า Permeability Test ในระดับที่น้ำซึมผ่านได้ยากเพื่อนำมาทำเป็นวัสดุดาดผิวบ่อบำบัดน้ำเสีย การทดสอบการรับแรงของตัวอย่างวัสดุดาดผิวบ่อบัดน้ำเสียที่ความหนาต่าง ๆ กัน และการจัดสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียต้นแบบที่ใช้วัสดุดาดผิวจากดินเหนียวผสมเถ้า และบ่อควบคุมที่มีการใช้แผ่น HDPE กับพืชที่ซื้อจากร้านขายต้นไม้ โดยทำการตรวจวัดประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของบ่อบำบัดน้ำเสียต้นแบบเปรียบเทียบกับระบบบำบัดน้ำเสียควบคุมและการเปรียบเทียบต้นทุนในการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียต้นแบบ ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 70 : 30 และที่ความหนา0.5 เซนติเมตรเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด บ่อบำบัดน้ำเสียต้นแบบที่ใช้วัสดุดาดผิวจากดินเหนียวผสมเถ้าและปลูกพืชที่ขุดจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการบำบัด TSS, TDS และ BOD ได้ไม่แตกต่างจากบ่อควบคุมที่มีการใช้แผ่นHDPEกับพืชที่ซื้อจากร้านขายต้นไม้ และบ่อบำบัดน้ำเสียต้นแบบที่ใช้วัสดุดาดผิวจากดินเหนียวผสมเถ้าแต่ปลูกพืชซื้อจากร้านขายต้นไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 0.05

Abstract

This research aims to study the optimum ratio between clay and ash with Permeability Test at the permeability level was difficult to obtain as a surface treatment material. Tensile strength test of various surface materials and constructed of the wastewater treatment plant prototype from the soil ash clay compare with the control ponds are using HDPE sheets with plants bought from a tree shop. The wastewater treatment efficiency of the treated wastewater treatment plant was compared with the wastewater treatment system and then comparison of construction cost all of the wastewater treatment plant . The study can concluded that the optimum ratio was 70 : 30 and about the thickness can used 0.5 cm for economic. The treated wastewater from the clay ash mixed with the ash and cultivated by natural excavation were not significantly different from the control ponds using HDPE. Tree shop the original wastewater from the clay soil was mixed with ash, but the plants were purchased from the tree shop confident at 0.05 significantly.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

386 23 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่