
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
องค์ประกอบทางเคมีและสมบัติการติดสีบนกระดาษสาของสารสกัดจากพืช
อาจารย์วาสนา ประภาเลิศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
541-58-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดของพืชสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นที่สามารถนามาสกัดสีย้อมได้ ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสีธรรมชาติที่สกัดได้จากพืช ประยุกต์ใช้สารผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติด้วยการบูรณาการกับภูมิปัญญากระดาษสา และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บกระดาษสาให้มีสีคงทนอยู่ได้นาน พบว่าชนิดของพืชสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นที่สามารถนามาสกัดสีย้อมได้พบพืชให้สีในท้องถิ่นที่น่าสนใจในการนามาศึกษา 5 ชนิด คือ ขี้เหล็ก ถั่วแปบ มะม่วง สัก และหูกวาง จากการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น ของสารสกัดหยาบจากพืชตัวอย่างทั้ง 5 ชนิด พบว่าใบขี้เหล็กพบแทนนิน แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ และ ซาโปนินส์ ใบถั่วแปบพบเพียงแทนนิน ใบมะม่วงพบแทนนินและฟลาโวนอยด์ สารสกัดจากใบสักและใบหูกวางพบแทนนิน และ ซาโปนินส์ เมื่อนาสารสกัดสีจากใบพืชตัวอย่างไปทากระดาษสา พบว่ากระดาษสามีการติดสีของสารสกัดที่ได้จากใบของขี้เหล็ก ถั่วแปบ มะม่วง สักและหูกวาง มีลักษณะสีเหลืองออกแดง สีเหลืองออกเขียว สีเหลือง สีเหลืองออกน้าตาล และ สีเหลืองออกส้ม ตามลาดับ เมื่อเก็บกระดาษสาไว้ในที่พ้นแสงเป็นเวลา 6-12 สัปดาห์ กระดาษสาที่ได้จากสีของใบขี้เหล็ก มะม่วง สัก และหูกวาง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีน้อยมากโดยจะยังคงเห็นเป็นสีเดิม ยกเว้นกระดาษสาที่ได้จากสีของใบถั่วแปบจะเกิดการเปลี่ยนสีอย่างมีนัยสาคัญ โดยเปลี่ยนจากสีเหลืองออกเขียวไปเป็นสีเหลืองออกแดง เมื่อเก็บกระดาษสาตัวอย่างไว้ในที่มีแสงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากระดาษสาที่ได้จากสีของใบของถั่วแปบ มะม่วง และสัก มีการเปลี่ยนแปลงของสีแดง-เขียว เมื่อเทียบกับการเก็บในที่มืดมากที่สุด ทาให้กระดาษมีสีเหลืองออกแดงมากกว่า เมื่อเก็บไว้ เป็นเวลา 18 สัปดาห์ พบว่ากระดาษทั้ง 5 ตัวอย่าง ที่เก็บในที่มืด และ มีแสงมีการเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกันที่นัยสาคัญ 0.05
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา607 11 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445