
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ปริมาณฟลาโวนอยด์และฟีนอลที่เป็นองค์ประกอบ และการต้านอนุมูลอิสระของข้าวไทย
อาจารย์ ดร.นวลอนงค์ เสมสังข์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
545-58-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
ศึกษาปริมาณฟลาโวนอย์และฟีนอลที่เป็นองค์ประกอบและการต้านอนุมูลอิสระของข้าวไทย 12 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียว ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง ข้าวเหนียวดำพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด ข้าวเจ้าพันธุ์หอมมะลิ 105 ข้าวเจ้าพันธุ์สินเหล็ก ข้าวเจ้าพันธุ์ซิตโต้เจ้าแปด ข้าวเจ้าแดงพันธุ์หอมมะลิแดง ข้าวเจ้าดำพันธุ์หอมนิล และข้าวเจ้าดำพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ โดยนำข้าวกล้องมาสกัดด้วยตัวทำละลาย ethanol : HCl (65% : 0.1%)เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze drying) ให้เป็นผง นำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณฟลาโวนอยด์ ฟีนอลทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH assay, ABTS radical scavenging activity, ความสามารถในการรีดิวซ์ (Reducing power) และความสามารถในการยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ตามลำดับ พบว่า ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองมีปริมาณฟลาโวนอยด์สูงที่สุด คือ 96.94±0.98 mg QE/100g ของน้ำหนักแห้งของข้าว ข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียวให้สารสกัดที่มีปริมาณฟีนอลทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบต่อน้ำหนักแห้งมากที่สุด คือ 274.06±11.96 mg GAE/100g ของน้ำหนักแห้งของข้าว เมื่อวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากข้าวโดย DPPH assay พบว่า สารสกัดจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียว ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง และข้าวเจ้าดำพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ มีฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระมากที่สุด คือร้อยละ 96.68, 95.56, 93.80 และ 93.28 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระ โดย ABTS assay พบว่า สารสกัดจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียว และข้าวเหนียวดำพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือเท่ากับ 7,954.08, 7,896.25 และ7,879.25 µM TE/g ของสารสกัด ตามลำดับ ส่วนความสามารถในการรีดิวซ์ พบว่า สารสกัดจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวมีความสามารถในการรีดิวซ์ดีที่สุด เท่ากับ 242.18±14.96 mM AAE /g ของสารสกัด และผลการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation พบว่า ในสารสกัดจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว, ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง และข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียวมีปริมาณการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation มากที่สุด คือเท่ากับร้อยละ 82.50, 82.50 และ 67.91 ตามลำดับ จากวิธีทดสอบต่างๆ ดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวเป็นข้าวที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดในทุกวิธีการทดสอบ
Abstract
Flavonoid, phenolic contents and antioxidant activities of 12 Thai rice varieties including; RD6, San Pathong 1, Hom Phukheaw, Leum Pua, Kum Doi Saket, Local black rice, Khao Dawk Mali 105 (KDML 105), Sin Leag, Chito Jaopad, Hom Mali Dang, Jao Homnin and Riceberry, were tested. Brown rice grain were extracted by stirring in ethanol: HCl (65%:0.1%) for 24 hrs and then freeze dried into extract podwer. Flavonoid concentrations in rice extracts were measured using aluminium chloride colorimetric method. Local black sticky rice showed the highest flavonoid concentration with 96.94±0.98 mg QE/100g dry weight. Meanwhile, Hom Phukheaw black sticky rice showed the highest total phenolic contents (274.06±11.96 mg GAE/100g dry weight). Antioxidant activities were measured using 4 methods including; DPPH assay, ABTS assay, FRAP assay and Lipid peroxidation inhibition assay. In all tested methods, Leum Pua black sticky rice showed the highest activities (DPPH assay = 96.68 % inhibition, ABTS assay = 7,954.08 TE/ g extract, FRAP assay = 242.18 mM AAE /g extract, lipid peroxidation inhibition = 82.50%) among other rice varieties. Hom Phukheaw and local black sticky rice also had the highest antioxidant activities, non significantly different with Leum Pua’s activities, in DPPH and ABTS assays. All white rice varieties (RD6, San Pathong 1, Khao Dawk Mali 105, Sin Leag and Chito Jaopad) exhibited low concentrations of flavonoid and total phenolic contents, moreover, less antioxidant activities. The antioxidant activities of natural products were believed that could be potential beneficial effects on health with their free radical-defensing properties. This study showed that pigmented rice, with high flavonoid or phenolic contents, exhibited high antioxidant activities. They could be the alternative resources for healthy consumptions.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา1605 17 พ.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445